Page 300 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 300

276
ซิว่าความคิดนี้จะคิดไปถึงไหน จะยาวแค่ไหน ? กับเจตนาที่จะรู้ว่าความคิด ที่เกิดขึ้นมาแล้วเขาเกิดดับอย่างไร ? เจตนาตรงนี้จะแตกต่างกัน การเข้าไป กาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด เราก็จะเห็นลักษณะอาการดับของ ความคิด แต่ถ้าเราสังเกตดูว่า ความคิดจะไปถึงไหน ? มันก็จะไปเรื่อย ๆ เพราะอะไร ? ขณะที่เราคิดไป ก็จะปรุงแต่งไปด้วย แล้วก็คิดต่อ จากเรื่อง หนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง ไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย เรื่อย... ทั้งบัลลังก์นั่นแหละ ออก จากบัลลังก์แล้วก็ยังคิดต่ออีก
เมื่อวานที่พูดย้าว่า การกาหนดสภาวะการกาหนดอารมณ์ทุกครั้ง ต้องมี “เจตนา” ทาไมเราต้องมีเจตนารู้อาการเกิดดับของรูปนาม ? เราต้อง มีเจตนาที่จะรู้ความจริงของรูปนาม ที่บอกว่า “สังขารเป็นของไม่เที่ยง สัญญาเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง” เรารู้ว่าขันธ์ ๕ ของเราเป็นของไม่เที่ยง แต่ก็ยังเข้าไปยึด เพราะอะไร ? “รู้” แต่ “ไม่เห็น” จึงเกิดความรู้สึกเข้าไปยึดว่าเป็นของเรา ความเป็นเราจึง เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏชัด
ถามว่า ขณะที่เรานั่งอยู่นี่ ขันธ์ไหนชัดที่สุด ? รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ? อันนี้แล้วแต่นะ แต่ละคนชัด ไม่เหมือนกัน ที่อาจารย์ถามอย่างนี้เพราะว่าขันธ์ทั้ง ๕ ที่ปรากฏชัดแก่ เรานั้น บางครั้งไม่ได้ชัดพร้อมกัน สังเกต ทาไมพระพุทธเจ้าถึงแยกเป็น ขันธ์ ๆ ? บางครั้งรู้แต่วิญญาณขันธ์กับรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ไม่เกิด ใช่ไหม ? สังเกตไหม นี่คือสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นเวทนาก็คือเวทนาทางจิต ที่ เรียกว่า “อุเบกขาเวทนา” ไม่รู้สึกอะไร แค่รู้สึกว่านั่งอยู่แล้วก็ว่าง ๆ เฉย ๆ จะเป็นอย่างนั้นไป
ทีนี้ ที่เราพิจารณารู้อาการเกิดดับ สิ่งสาคัญก็เพื่อให้เรา “คลายจาก อุปาทาน” และการรู้อาการเกิดดับของรูปนามก็เหมือนกับรู้ “ชีวิตใหม่” ชีวิต ของเราคือรูปกับนาม ใช่ไหม ? มีแต่กายกับใจ ก็คืออาการของรูปนามนั่นเอง


































































































   298   299   300   301   302