Page 302 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 302

278
เหล่านั้นหลายพันรอบจนเอาไม่อยู่ ไม่มีทางออก ก็เลยต้องออกมาทาง วจีกรรมกายกรรม กลายเป็นว่าครบสามองค์! แต่ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ครบองค์เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าอกุศลหรือความโกรธเกิดขึ้นแล้วเราเข้าไปรู้ แล้วเราดับความโกรธเราได้ จิตที่เสวยอกุศลกรรมก็จะลดลง จิตที่เสวยความทุกข์ก็จะสั้นลง เมื่ออายุ อารมณ์นี้สั้นลง วิบากกรรมที่เราจะสร้างต่อไปก็จะน้อยลง เป็นการควบคุม กรรมตัวเอง หรือเป็นการตัดกรรมของตัวเอง ไม่ใช่ตัดวิบากนะ คนละอย่าง กัน! เป็นการตัดกรรมที่จะสร้างต่อไป จากมโนกรรมเราก็หยุดมันเสีย เริ่ม คิดแล้วก็ดับเสีย
เวลาเราโกรธ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ? ทุกข์ ใช่ไหม ? วิธีดับทุกข์ ทาอย่างไร ? จะย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของเราแล้ว เกี่ยวข้องกัน เมื่อ ความโกรธเกิดขึ้นทาให้เราเป็นทุกข์ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าโกรธเมื่อไหร่ก็ทุกข์ แต่ก็ยัง พอใจที่จะโกรธ แล้วมาถามครูบาอาจารย์ว่า ทาไมเราถึงชอบโกรธจัง ? แล้ว ใครจะไปรู้ด้วยล่ะ! ต้องถามว่า ทาไมเราเป็นคนโกรธง่ายจัง ? วิธีดับความ โกรธ ทาอย่างไร ? วิธีดับความโกรธคือ ดับความรู้สึกว่าเป็นเรา เอาความ รู้สึกว่าเป็นเราออกเสีย ถ้าเอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก คือละอะไร ? ดับ มานะทิฏฐิ ใช่ไหม ? เราเป็นคนมีมานะทิฏฐิมาก โกรธง่าย เป็นคนอารมณ์ ร้อน ที่จริงธรรมชาติแล้วคนเรา “สร้างมาแตกต่างกัน” บางคนเกิดมามีโทสะ จริต จะไวต่ออารมณ์ โกรธง่าย บางคนโกรธง่ายหายเร็ว บางคนโกรธง่าย หายช้า
สิ่งที่เราปฏิบัติอยู่นี้ การที่ให้พิจารณากาหนดรู้อาการเกิดดับ รู้วิธี ดับอารมณ์ เพื่อให้เห็น “ธรรมชาติของจิต” จริง ๆ อารมณ์ที่เรารับรู้ เขา เกิดมาชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็ดับไป ถ้ารู้ตามธรรมชาติของเขาจริง ๆ แต่เมื่อ กระทบขึ้นมาแล้วมี “เรา” เป็นผู้รับ มี “เรา” เป็นผู้เสวยอารมณ์ รับอารมณ์ ไปจนอิ่ม แล้วก็เผื่อแผ่ต่อผู้อื่น... สังเกตไหม เวลามีความสุข เราก็อยาก


































































































   300   301   302   303   304