Page 305 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 305

281
ชัดเจนอย่างนี้อุปสรรคจะน้อยลงเยอะ เรื่องข้างนอกไม่มารบกวน ทีนี้ เหลือ แต่สิ่งที่เราต้องกาหนดรู้ มีอยู่ ๔ อย่าง ที่บอกว่า “ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดู
ธรรม”
การดูเวทนาก็ต้องมีเจตนาที่ชัดเจน อย่างเมื่อตอนกลางวัน คุณโยม
เขาเล่าว่าเวทนาเกิดขึ้น ต้องสู้ให้ชนะเวทนา จะต้องเอาชนะเวทนาให้ได้! อาจารย์ก็คิด เราจะเอาสภาวธรรมเป็นศัตรูเสียแล้ว! เวทนาที่เกิดขึ้นเป็น อารมณ์ที่เราต้องกาหนดรู้ ไม่ใช่ศัตรูของเรา! เป็นอารมณ์ที่ต้องกาหนดรู้ว่า เขาเกิดดับอย่างไร สิ่งที่เราต้องเอาชนะคือต้องเอาชนะใจตัวเอง ไม่ใช่เอา ชนะเวทนา เวทนาไม่เที่ยงหรอก! เอาชนะใจตรงไหน ? เอาชนะใจตรงที่ ว่าเราไม่ปฏิเสธเวทนา แล้วมีสติกาหนดรู้ว่าเวทนาที่เกิดขึ้นมา เกิดดับ อย่างไร ? เปลี่ยนอย่างไร ? หนักเบาอย่างไร ? นั่นคือ “หน้าที่ของเรา”
ทีนี้ วิธีการสู้กับเวทนา เราต้องสู้ด้วย “ปัญญา” อย่าใช้กาลัง! เรา เป็นผู้เจริญสติ เราต้องใช้ปัญญา เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ขณะแรกสิ่งที่เรา ต้องทาคือ ให้สังเกตว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาที่เกิดขึ้น เป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วนกัน ? แต่อยากให้เรารู้ชัดอีกนิดหนึ่งว่า เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความปวด เป็นอาการคัน หรือเป็นอาการชา ? เวทนาที่พูดถึงคืออาการ อะไร ? ถ้าเป็นความปวด เขาปวดบริเวณไหน ? ปวดที่หัวเข่า ปวดที่หลัง ปวดที่ไหล่ หรือปวดที่ศีรษะ ถ้าเรารู้ตาแหน่งของความปวด แล้วเราจะรู้ ตาแหน่งของจิตเรา ถ้าเราไม่รู้ตาแหน่งของความปวด เราจะไม่รู้เลยว่าจิต ของเราอยู่ที่ไหน
ลองสังเกตดี ๆ นะ ถ้าเรารู้ว่าปวดอยู่ที่เข่า แล้วเราสังเกตจะเห็นว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้อยู่ใกล้ ๆ หัวเข่า หรืออยู่ข้างนอกหัวเข่า ถ้าสังเกตอย่างนี้ เรา ก็จะเห็นว่า จิตเราอยู่ที่เดียวกับเวทนา หรือคนละที่กับเวทนา อันนี้อย่างหนึ่ง นี่เราใช้ “ปัญญา” ในการสู้กับเวทนา หนึ่ง แยกเวทนากับจิตของเรา สอง ถัด จากนั้น ให้ดูใกล้ ๆ นั่นแหละ เมื่อเราเห็นว่าจิตกับเวทนาเป็นคนละส่วนกัน


































































































   303   304   305   306   307