Page 307 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 307

283
ปวดมากเลย... ไม่ไหวแล้ว ขยับดีกว่า!”
อีกอย่างหนึ่ง ที่บอกว่าไปรู้การเปลี่ยนแปลง โดยธรรมชาติของ
ความปวด ถ้าปวดในลักษณะเดียวแล้วนิ่ง ๆ เราจะทนได้ยากมาก ๆ ส่วน ใหญ่แล้วก็จะมีอาการเดี๋ยวชัดเดี๋ยวไม่ชัด ถ้าปวดแล้ว ปวดมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น... ไม่นานหรอก ที่เขาใช้คาว่า “ทนพิษบาดแผลไม่ไหว” ใช่ไหม ? เดี๋ยวก็ทนไม่ไหว แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะปวดแล้วก็หายปวด ปวดแล้วก็หยุด ปวดแล้วก็หยุด...
ทีนี้ วิธี “สู้ด้วยปัญญา” อีกวิธีหนึ่งก็คือว่า ขณะที่ความปวดแรงขึ้น มา แล้วเขาเบาลง เราก็เอาจิตเข้าไปตรงที่เขา “เบา” ปวดขึ้นมาอีก เบาลง เอาสติเราเข้าไปตรง “ความเบา” ทีละขณะ เขาเรียกช่องว่างระหว่างความ ปวด “ช่องว่างระหว่างอารมณ์” ปวดเป็นขณะ ๆ เมื่อสติเข้าไปเขาก็จะ เปลี่ยนไป เราก็สังเกตว่า เมื่อจิตเราเข้าไปในช่องว่างบ่อย ๆ ปุ๊บ เวทนารู้สึก เป็นยังไง ? เปลี่ยนไปอย่างไร ? นี่คือการสู้กับเวทนาด้วยปัญญา เวทนาไม่ เที่ยง เขาแสดงความไม่เที่ยงอยู่ แทนที่เราจะรู้ถึงความไม่เที่ยง เราไปรู้รส ชาติของเวทนาคือความปวด ปวดมาก ๆ นี่คือวิธีการกาหนดสภาวะ การ กาหนดอารมณ์ต่าง ๆ จึงต้องมีเจตนา
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า พอปฏิบัติไปสักพัก รูปเริ่มล้าตาเริ่มโรย ตื่นเช้า นอนดึก ตื่นเช้า นอนดึก... พอตอนนั่งก็ “หลับ” ตอนนั่งก็ “ง่วง” บางทีแม้เดินก็ยังหลับ เพราะอะไร ? สังเกตนิดหนึ่งว่า เกิดจากรูปเราล้า หรือว่าสมาธิมาก ? ที่จริงแล้ว อาการพวกนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเวลาเรากาหนด อารมณ์แล้วอารมณ์หลักของเราไม่ชัดเจน จะออกแบบคลุมเครือ กาหนด อาการเดินการก้าวเท้าก็คลุมเครือไม่ชัดเจน พองยุบก็คลุมเครือ ถูกคลุม ด้วยความง่วง เพราะฉะนั้น เมื่อความง่วงเกิดขึ้น ทายังไง ? ก็ “ทน” ทนนั่ง นั่ง นั่ง... นั่งจนหายง่วง กว่าจะหายง่วงได้ ก็ได้ตื่นหนึ่ง! เป็นเรื่องปกติ


































































































   305   306   307   308   309