Page 309 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 309

285
สังเกตดูเลยว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความง่วงเกิดขึ้น อารมณ์อื่นจะไม่ ชัดเจน ใช่ไหม ? พองยุบก็เลือนลาง ลมหายใจก็จะหาไม่เจอ แม้แต่ความ คิดเองก็ยังเบาบาง เวทนาไม่มีหรอก ถ้ามีเวทนาก็จะไม่ง่วง เพราะฉะนั้น วิธี ก็คือว่า พอความง่วงเริ่มมา ให้เอาสติเราเข้าไปรู้ความง่วง แล้วก็ส่งไปไกล ๆ หรือขยายให้กว้างออก ขยายให้กว้างออก... ลองดูสิ ใครที่กาลังง่วงอยู่ แล้ว ลองดูนะ ขยายให้กว้างออกไป... ทาให้บริเวณสมองเรารู้สึกเป็นไง ? ได้ไหม ?
ทีนี้ บางครั้งเราขยายออกไปแล้ว สมองเราโล่งแล้ว ตาเราเริ่มใสขึ้น นิดหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตดี ๆ เขายังมี “เศษ” ของความง่วงอยู่รอบ ๆ ตัว พอ เราเผลอปึ๊บ เขาก็จะผลุบเข้ามา แล้วก็จะง่วงต่อ ถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็เข้าไป ใหม่ ขยายใหม่... ทีนี้ วิธีแก้ก็คือว่า ให้เขา “ไปไกล ๆ” ไม่ต้องเหลือเศษ ถ้าขยายออกไปจนสุดจนหมดนี่ จิตเราก็จะตื่นทันที! อันนี้คือ “การต่อสู้กับ ความง่วง” จิตก็จะตื่นขึ้นมา ยิ่งพอจิตเริ่มตื่น จิตเริ่มใสขึ้น ยิ่งเพิ่มความนิ่ง มากขึ้น เมื่อเพิ่มความนิ่งขึ้น สมาธิตั้งมั่นขึ้น สติมีกาลังมากขึ้น ความง่วงก็ จะหายไป นั่นคือการต่อสู้กับความง่วง นอกจากที่เล่ามาแล้วว่าล้างหน้า เดิน เปลี่ยนอิริยาบถ
ความง่วงที่เกิดจากสมาธิมาก อีกวิธีที่ง่ายก็คือ “เพิ่มความรู้สึกที่ตื่น ตัว” เพิ่มความตื่นตัวจะว่าง่ายก็ไม่ง่ายนะ เพราะเราไม่รู้จักความตื่นตัว ความ ตื่นตัวเป็นยังไง ? นึกออกไหม ? รู้จักความตื่นตัวไหม ? (โยคีกราบเรียนว่า กาหนดเร็ว ๆ) ขณะนี้นั่ง จิตตื่นไหม ? ตื่น ใช่ไหม ? ต้องกาหนดเร็วไหม ? ไม่ต้อง! แต่เรารู้สึกได้ว่าลักษณะของจิตตื่นเป็นอย่างไร ไม่งัวเงีย ใช่ไหม ? จิตจะเบิกบาน เหมือนกับใส จิตที่ตื่นตัวจะ “สว่าง” นั่นหมายถึงว่าเรามี สติดี ที่พูดอย่างนี้ต้องรู้จักสังเกต ต้องดูจิตตัวเองด้วย ไม่ใช่รู้แค่อาการ อย่างเดียว ถ้าเรารู้แค่อาการอย่างเดียวก็คือรู้แค่อาการของรูปอย่างเดียว เรา ต้อง “รู้ของนาม” ด้วย


































































































   307   308   309   310   311