Page 311 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 311

287
เพราะฉะนั้น กลับมาที่รูปนี่ ต้องรู้ว่า “ที่รูปเป็นยังไง ?” แต่ถ้ากลับ มาที่รูปแล้ว มีอาการยิบยับยิบยับตามรูป นั่นคืออาการเกิดดับของรูป ไม่ว่า จะเกิดตาแหน่งไหนของรูปเราก็ตาม ให้สังเกตอาการนั้น แล้วตามกาหนดรู้ อาการนั้นว่าเขามีแล้วหมดยังไง ? ดับอย่างไร ? มีสติเข้าไปรู้ต่อ และถ้ามา รู้ที่รูปที่ว่าง ๆ เข้าไปข้างในแล้ว รู้สึกว่าเขามีอาการกระเพื่อมไหวเบา ๆ นิด หนึ่ง นิดหนึ่ง... ให้ตามรู้อาการกระเพื่อมไหวไป จากเบาแล้วเปลี่ยนไป ยังไง ? น้อยลง ๆ หรือว่าจากที่เบาแล้ว อาการกระเพื่อมไหวเริ่มชัดขึ้น ชัด ขึ้น ? อาการกระเพื่อมไหวเราจะรู้สึกได้ว่า เขาจะแคบลง เล็กลง หรือว่ากว้าง ขึ้น กว้างขึ้น ? ถึงแม้ไม่เห็นแต่รู้สึกได้
ตรงที่ “รู้สึกได้” นั่นแหละสาคัญ! ไม่ใช่ว่าต้องเห็นทุกครั้ง ที่รู้สึกได้ และไม่เห็น นั่นคือเป็นสภาวะที่ละเอียด ลองสังเกต ไม่มีพองยุบ แต่รู้สึกได้ ถึงการเปลี่ยนแปลง นั่นแหละสภาวะดี ที่จะเข้าสู่ปรมัตถ์ ที่เราสามารถ รู้สึกได้ ถ้าไม่รู้สึกจริง ๆ คือว่างหมดเลย รูปไม่มี อะไรไม่มี ตรงนั้นเรียก ว่า “ไม่มี” จริง ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีรูป แต่ก็มีใจรู้ มีจิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าว่าง ขณะที่ว่างไม่มีรูป ความว่างที่เกิดขึ้นจิตเราว่าง ถ้าจิตว่างเมื่อไหร่ ลองสังเกต ดูว่า บรรยากาศข้างหน้าเป็นอย่างไร ? สว่าง ใส สงบ โล่ง นิ่มนวล ขุ่นมัว หรือ มืด ? ตรงนี้เราจะเห็นแน่นอน ไม่เชื่อลองหลับตาดูสิ
สังเกตดูว่า พอเราหลับตาปุ๊บ ข้างหน้าเป็นอย่างไร ? สว่าง ใช่ไหม ? พอเห็นว่าสว่าง โยมก็เอาจิตเข้าไปในความสว่างนั้น ดูว่าเขาเปลี่ยนอย่างไร ? เขาเปลี่ยนอีกไหม ? นั่นคืออารมณ์ของจิตที่เราต้องตาม เป็นสภาวธรรมอย่าง หนึ่งที่เกิดขึ้น จิตสว่าง เขาเรียกอะไร ? โอภาส ใช่ไหม ? คาว่า “โอภาส” ภาษาบาลีก็คือ ความสว่าง มีความสว่างขึ้นมา เราก็เข้าไปในความสว่างนั้น แหละ ขณะที่สว่าง จิตใจรู้สึกดีไหม ? ดี รู้สึกสบาย เมื่อกี้รู้สึกเป็นไง ? สว่างหรือสลัว ? สว่างนะ


































































































   309   310   311   312   313