Page 306 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 306

282
ให้สังเกตต่อว่า จิตกับเวทนา อันไหนมีกาลังมากกว่ากัน ? ถ้าจิตเรามีกาลัง น้อยกว่าเวทนา ให้ถอยออกมาก่อน ไม่ต้องมุ่งเข้าไป
วิธีทาให้จิตมีกาลัง ทายังไง ? แค่เรา “นิ่ง” แล้วก็ “ขยายจิต” เราให้ กว้างขึ้น ให้กว้างขึ้น กว้างขึ้น... แล้วจิตก็จะมีกาลังมากกว่าเวทนา ถามว่า ขณะที่จิตมีกาลังมากขึ้น หรือสติมีกาลังมากขึ้น เวทนายังคงเดิมหรือ เปลี่ยนไป ? เราจะรู้ได้ในขณะนั้น ไม่ต้องวิ่งกลับไปกลับมา จริง ๆ เราจะ รู้สึกได้เลยว่า พอจิตเรารู้สึกกว้างขึ้น เวทนามันเริ่มเบาลง หรือแรงขึ้น แรง ขึ้นอีก... เราจะรู้สึกได้ทันที!
ทีนี้ เมื่อจิตมีกาลังมากขึ้น สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า เวทนาที่เกิดขึ้น เขาตั้งนิ่งหรือมีอาการขยับ ? รอบ ๆ เวทนามีอาการขยับ ๆ เบา ๆ หรือว่า นิ่ง ๆ ? ลองพิจารณาดู แล้วถ้ารอบ ๆ มันนิ่ง ๆ แล้วตรงกลางเวทนาเป็น ยังไง ? ถ้าตรงกลางเวทนามีอาการเป็นจุด แล้วก็แวบ หาย... แวบ หาย... ให้ไปรู้ตรงอาการเปลี่ยนแปลง ตรงที่มีอาการแวบ หาย... การกาหนดเวทนา ต้องมีเจตนาที่จะรู้อาการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับ ไม่ใช่ไปบังคับให้เขาหาย อันนี้คือ “เราสู้ด้วยปัญญา” เราไปรู้ตรงที่ว่าเขาเกิดแล้วก็แวบ ขยับ... นั่น คือความไม่เที่ยงของเวทนาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เมื่อกาหนดรู้ไปเรื่อย ๆ เวทนาก็จะเปลี่ยนไป
แต่จะมีอีกลักษณะหนึ่งก็คือว่า เวลาเรากาหนดเวทนา แทนที่เราจะรู้ ถึงความไม่เที่ยงของเวทนา เราจะไปรู้ “กาลังของเวทนา” ตรงไหนที่เรียกว่า “กาลังของเวทนา” ? พอปวดขึ้นมาก็ปวด ปวด... ไปย้า “ปวดหนอ...” ไม่ผิด นะ เพียงแต่ให้สังเกตว่าเราจะสู้ หรือว่าไปรู้ความปวด หรือรู้การเปลี่ยนแปลง ของเวทนา ? นิดเดียว! เรากาหนดรู้ความปวด ...เดี๋ยวปวด เดี๋ยวจาง เดี๋ยว ปวด เดี๋ยวจาง... อันนั้นไม่เป็นไร แต่ถ้าปวดอย่างเดียว พอปวดขึ้นมา เราก็ ปวด ปวด... จิตเราเลยไปเสวยความปวดมากกว่าไปรู้การเปลี่ยนแปลง เคย สังเกตไหม ? เราจะไปสนใจแต่ว่าปวดมากเลย ปวดมากเลย ปวดมากเลย


































































































   304   305   306   307   308