Page 314 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 314

290
ปึ๊บ รู้สึกไหม พอเราแตะ มันจะมีอาการกระทบ กระทบแล้วเขากระจาย หรือ กระทบแล้วแวบหาย ? นั่นคือการเกิดดับในขณะที่เรามีการสัมผัสกับอารมณ์ ใดอารมณ์หนึ่ง กายกระทบกายสัมผัสแล้วก็มีอาการดับไป
ที่จริงก็ไม่ต่างกับเท้าสัมผัสพื้น กระทบปึ๊บเขามีอาการยังไง ? เพียง แต่ว่าขณะที่เคลื่อนไปอาจจะไม่เห็น ถ้าเราจาเป็นต้องทาอะไรเร็ว ๆ แต่ถ้า มีเวลา เราก็ค่อย ๆ สังเกตไปให้ชัด เรากาหนดได้ทั้งสองแบบ ถ้ามีเวลาก็ พิจารณาให้ละเอียดไป แต่ถ้าไม่มีเวลา ที่จาเป็นต้องทาอะไรเร็ว ๆ เพื่อให้สติ เรารู้ทัน ให้ “รู้ชัด” ในอาการที่เกิดขึ้น รู้ชัดทันที อาจจะ “วางคาบริกรรม” ไว้ ก่อน หรือคาบริกรรมจะไวที่สุดก็คือ เรา “คิด” เอา รู้สึก “ถูก ถูก” ไม่ต้อง เติมอีกคาหนึ่ง ถ้าสองคาก็จะยาวนิดหนึ่ง จะช้า ไม่ทัน!
อีกอย่างหนึ่ง การที่จะกาหนดอิริยาบถย่อยได้ทัน สติจะต้อง “ใหญ่ กว่ารูป” สติจะต้อง “กว้างกว่าตัว” ลองสังเกตดูนะว่า ถ้าให้จิตเราหรือสติ ของเรากว้างกว่าตัว เวลาเราจะขยับนี่ รู้สึกทันทีไหม ? รู้สึกทันที เราจะรู้สึก ได้เร็ว เพราะการเคลื่อนไหวอยู่ใน “สายตา” ของสติเรา อยู่ในสายตาของ ความรู้สึกเรา โดยที่เราไม่ต้องวิ่งไป จะรู้สึกขึ้นมาทันที ตรงนี้สติจะไว เพราะ สติเราใหญ่ อาการเคลื่อนไหวต่าง ๆ จะมีเกราะป้องกัน เราก็จะรู้ทัน รู้ทัน รู้ทัน... เพราะฉะนั้น จะเร็วแค่ไหนก็ได้! ทุกคนทาได้! เพียงแต่ว่าจับหลักให้ ถูกนิดหนึ่ง อันนี้พูดไว้ก่อนนะ ถ้าสงสัยพรุ่งนี้ค่อยถาม
การกาหนดอารมณ์ ที่อยากให้เราพิจารณาก็คือว่า หนึ่ง เรารู้ “เป้า หมาย” ของเราว่า เรามาปฏิบัติธรรม เรามาเจริญสติ เพราะฉะนั้น ไม่ว่า อารมณ์อะไรจะเกิดขึ้นกับเรา จะเกิดที่ใจ จะเกิดที่กาย หน้าที่เราคือ มี “สติ” กาหนดรู้ว่าเขาเกิดแล้วดับอย่างไร เรามาพิจารณารู้อาการพระไตรลักษณ์ ของรูปนาม เพื่อการไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม เพื่อการดับทุกข์ แต่สิ่งหนึ่ง ที่ขาดหายไปก็คือ “เจตนา” ของเรา เรามาพิจารณาการดับทุกข์ แต่เมื่อ เกิดความไม่สบายใจขึ้น เรามักจะลืม และไม่ได้กาหนดว่าความทุกข์นั้นดับ


































































































   312   313   314   315   316