Page 318 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 318

294
เบา” ตรงนี้เขาเรียกว่า “ลักษณะของสภาพจิต” ทีนี้ ในร่างกายของเรา ที่เรา เข้าไปยึดว่า ผมของเรา ตาของเรา หูของเรา จมูกของเรา ฟันของเรา ผิว ของเรา เนื้อของเรา ลองสังเกตดูว่า รูปนั้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เขาเป็นส่วน เดียวกันหรือคนละส่วน ?
การพิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เราเห็นว่า จิตเรากับอารมณ์เหล่านั้น เป็นคนละส่วนกันทุกขณะ ทุกขณะ ลองสังเกตดู “สภาพจิตใจ” รู้สึกเป็น ยังไง ? ตรงนี้คือ “การแยกรูปแยกนาม” จิตที่ทาหน้าที่รู้คือ “นาม” ผม ขน เล็บ ผิว เนื้อ หนัง เป็น “รูป” การกาหนดรู้อย่างนี้ ให้เราเห็นชัด ๆ และ อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ขณะที่เราพิจารณานี่ จิตตัวที่ทาหน้าที่รู้เอง เขาบอกว่า “เป็นเรา” หรือเปล่า ? ไม่บอก แล้วตัวที่นั่งอยู่ เขาบอกว่า “เป็นเรา” ไหม ?
ทาไมถึงถามแบบนี้ ? ถ้าเราไม่ถามตัวเองอย่างนี้ เราจะเข้าใจเอาเอง และคิดเอาเองว่า รับรู้เมื่อไหร่ต้องเป็นเราทุกครั้ง เพราะความเข้าใจว่าจิตที่ ทาหน้าที่รู้คือเรา ตรงนี้แหละที่เราไป “ยึด” เอาจิตว่าเป็นของเรา ตัว “วิญญาณ ขันธ์” ว่าเป็นของเรา ตัวที่ทาหน้าที่รู้ว่าเป็นเรา ถ้า “ไม่มีเรา” แล้วใครเป็น ผู้รับรู้ ? ไม่มีเราก็ยังรู้ได้ ใช่ไหม ? เพราะจิตเป็น “ธรรมชาติที่ทาหน้าที่ รับรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น” การรับรู้ทางตา เรียกว่า “จักขุวิญญาณ” การ รับรู้ทางกาย ผัสสะรู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง เขาเรียกว่า “กายวิญญาณ จิต” เพราะฉะนั้น วิญญาณ ก็คือตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้
เมอื่ การรบั รอู้ ยา่ งนี้ จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ เู้ ขารบั รตู้ ามเหตปุ จั จยั ตามธรรมชาติ และจิตที่ทาหน้าที่รู้นี้เขาไม่ปฏิเสธอารมณ์ เขารู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทั้งดีและ ไม่ดี ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะมาทางทวารไหนก็ตาม อยู่ที่กาลังของอารมณ์เหล่า นั้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน อารมณ์ไหนมีกาลังมากก็กระชากจิตเราให้ไปรับรู้ อารมณ์นั้น อารมณ์ไหนมีกาลังน้อยก็จะกลายเป็นโมฆะหรือไม่รับรู้ไป ใน ขณะเดียวกันถ้ามีสองอารมณ์ อารมณ์ไหนมีกาลังมาก ก็จะกระชากจิตเรา ไปรับรู้อารมณ์นั้น นี่คือธรรมชาติของจิต


































































































   316   317   318   319   320