Page 319 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 319

295
ที่ให้พิจารณาดูว่า จิตกับอารมณ์เหล่านั้นเป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วน อันนี้ประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ เราจะได้รู้ว่า การรับรู้อารมณ์ที่เข้า มากระทบทางทวารทั้งหกของเรานี่ เรารับรู้อย่างมีตัวตนหรือรับรู้อย่างมีสติ ถ้ารับรู้อย่างมีสติ คือรับรู้อย่าง “ไม่มีตัวตน” ถามว่า อารมณ์เหล่านั้นมาบีบ คั้นจิตเราหรือเปล่า ? มาทาให้เราเป็นทุกข์ไหม ? นี่เป็นตัวรับรองตัวเราเอง ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เรารู้ว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้กับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เขาเป็น อย่างไร เขาเกี่ยวข้องกันอย่างไร เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันอย่างไร ไม่ใช่ อะไรก็ของฉันอะไรก็ของฉัน ตาของฉัน หูของฉัน... เสียงที่ได้ยินก็ของ คนอื่น ใช่ไหม ? เสียงที่ได้ยิน ก็บอกฉันได้ยิน... เหล่านี้เป็นต้น
เพราะ “ความเป็นเรา” เป็นตัว “ปิดบัง” ความจริงที่เกิดขึ้น “ความ เข้าใจผิด!” ทาไมถึงคิดว่าเป็นเรา ? จริง ๆ เขาเรียกว่า “ความไม่รู้” เขา เรียกว่า “ความเขลา” ถ้าเรียกอีกอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า “อวิชชา” หนักเข้าไป ใหญ่! จริง ๆ เพราะความไม่รู้ของเรา ความไม่เข้าใจ ที่ไม่เข้าใจเพราะอะไร ? เพราะเราไม่ค่อยได้สังเกต ไม่ได้พิจารณาตามความเป็นจริง เราพิจารณา ด้วยการคิด ไม่ใช่พิจารณาด้วยการกาหนดรู้สังเกตรู้ เขาเรียก “ธัมมวิจยะ” รู้ตามความเป็นจริง
เมื่อเราเห็นสภาวะ “ความเป็นจริง” ตรงนี้แล้ว รู้สึกยังไง ? สมัยก่อน เขาใช้คาว่า เธอจะสาคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? เขา บอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? รูปเป็นอัตตาหรืออนัตตา ? ตัววิญญาณขันธ์เป็น อัตตาหรืออนัตตา ? ความไม่มีตัวตนในความหมายว่า “ไม่มีเรา” ไม่มีเรา คือ ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ยังใช้คาว่า “เรา” อยู่นะ ต้องสลับกันระหว่างสมมติ กับความจริง ถ้าไม่ยกตัวอย่างอย่างนี้ก็ไม่รู้จะใช้สรรพนามอย่างไร
กลับมาที่ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตนั้น เขานิ่งอยู่กับที่ อยู่ ข้างในตลอด หรือเคลื่อนย้ายที่ได้ ? จิตไม่ได้อยู่ในตัวตลอดเวลา ใช่ไหม ? จิตไปรับรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ธรรมชาติของจิตคือทาหน้าที่รับรู้อารมณ์


































































































   317   318   319   320   321