Page 321 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 321

297
เท่าที่เรารู้สึกสบาย รู้สึกเป็นอย่างไร ? (โยคีกราบเรียนว่า อยู่ข้างนอก) ขณะ ที่เห็นอย่างนั้น เข้าถึงใจไหม ? พอเข้าไม่ถึงใจ ถามว่ากิเลสเกิดไหม ? ตรง นี้แหละต้องสังเกต! นักปฏิบัติต้องสังเกต อย่าเชื่ออย่างเดียว ต้องพิจารณา ต้องสังเกตดี ๆ ไม่ใช่ว่าเขาบอกว่าดีเราก็ดี เขาบอกไม่ดีเราก็ไม่ดี ไม่ได้!
ต้องพิจารณาต้องสังเกตให้ดีว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นคืออะไร ? สิ่งที่ เราทา ดีหรือไม่ดีอย่างไร ? เราต้องบอกตัวเองได้ จึงบอกว่าให้เรารู้ว่า เรา ปฏิบัติแล้ว เรา “ได้” อะไร ? ไม่ต้องให้คนอื่นมาบอกว่า เธอได้อย่างงั้นเธอ ได้อย่างงี้ อาจารย์ก็ได้แต่ดีใจด้วยว่า เออ! ปฏิบัติได้ดีนะ พออาจารย์บอกว่า เราปฏิบัติได้ดี เราก็ยังงง ๆ ดีตรงไหน ? อันนี้ก็ใช้ไม่ได้! เพราะฉะนั้น เรา ต้องสังเกตตัวเราเอง การฝึกรู้ถึงความไม่มีตัวตนบ่อย ๆ นั่นคือการ “ฝึกละ อัตตา” เราไม่ต้องพยายามไปคิดว่า ไม่ใช่ของฉัน! ไม่ใช่ตัวฉัน! ไม่ต้องคิด อย่างนั้น แค่ “สังเกต” ว่าขณะนี้มีความเป็นเราไหม ? ขณะที่ได้ยินเสียง ลอง สังเกตดูว่า เราเป็นผู้ได้ยิน หรือแค่จิตทาหน้าที่รับรู้เฉย ๆ ? สังเกตแบบนี้ ต่อเนื่องทุก ๆ อารมณ์
ใน “อิริยาบถย่อย” ก็เหมือนกัน การที่เราจะกาหนดได้ดีและรู้เท่าทัน อารมณ์ในอิริยาบถย่อยนั้น ลองสังเกตดูว่า ถ้าสติเราแคบ เราจะทันอาการ ไหม ? ไม่ทัน! สติเราแคบ กาลังน้อย สมาธิก็จะน้อยไปด้วย ถ้าสติเรากว้าง สติเราใหญ่ จิตเราจะมีกาลัง สติตรงไหนที่เรียกว่า “ใหญ่” ? สติ คือ จิตที่ ตื่นตัว จิตที่มีกาลัง แล้วกว้างกว่าตัว โยมลองดูนะ ให้สติ จิตที่มีกาลัง กว้าง กว่าตัว โยมลองสังเกตนิดหนึ่งว่า พอโยมจะขยับปึ๊บ รู้สึกไหม ? ลองดูสิ จะ ขยับมือ พอเริ่มจะขยับมือ รู้สึกก่อนไหม ? ต้องมี “เจตนา” ว่าเราจะขยับอะไร
สังเกตไหม รู้สึกนิดหนึ่ง รู้สึกนิดหนึ่ง.. ก่อนที่จะขยับ ก่อนที่จะ กระพริบตา ก่อนที่จะอ้าปาก สังเกตว่าจิตมันสั่งก่อนไหม ? รู้สึกก่อน ใช่ไหม ? อันนี้ต้องสังเกตนะ ถ้าสังเกตแบบนี้ เขาเรียกว่า “เห็นต้นจิต” เขา เรียก “กาหนดรู้ต้นจิต” ก่อนที่จะขยับ ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะเคลื่อนไหว


































































































   319   320   321   322   323