Page 322 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 322

298
รู้สึกก่อนไหม ? เขาจะไม่เป็นภาษา จิตเราจะเร็วมาก ๆ ไม่เป็นภาษา แต่ ที่ให้กาหนดว่า “รู้หนอ รู้หนอ” ก่อน เขาฝึกแบบช้า ๆ ให้ทัน ก่อนที่จะยก “อยากหนอ” ใช่ไหม ? “อยากหนอ ยกหนอ ไปหนอ หยิบหนอ จับถูกหนอ” ถูกหนอแล้วยังไงต่อ ? “ดับหนอ” เห็นไหม นั่นคือกาหนดความต่อเนื่อง
ทีนี้ จะทาให้สติเราไวขึ้น สติเราต้องใหญ่กว่าตัวกว้างกว่าตัว เวลา เราเคลื่อนไหวนี่จะรู้สึกได้เลย รู้สึกได้ไหม ? ลองขยับปึ๊บนี่ รู้สึกทันทีว่า เป็นคลื่น เป็นเส้น หรือมีอาการสะดุด สะดุด หรือมีความเย็นผ่าน แผ่ว ๆ ยิบ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เรารู้สึกได้อยู่แล้ว นั่นคือสภาวะ คืออาการที่ปรากฏขึ้นมา เราสังเกตที่อาการ เพราะฉะนั้น เวลาเรากาหนดอาการของอิริยาบถย่อย จะ หยิบ จะจับ จะเคลื่อนไหว เราสังเกตทั้งหมด อย่างเวลากราบก็เหมือนกัน ที่บอก “กราบสติปัฏฐานสี่” กราบยังไง ? คือมีสติตามอาการ แล้วก็สังเกต อาการกราบของเรา มีอาการยังไง ? เป็นเส้น เป็นขณะ เกิดดับไป แวบ แวบ แวบ แวบ หรือว่างไป อันนี้แล้วแต่เขาปรากฏ สติของเราเป็นอย่างไรขณะนั้น อาการก็จะปรากฏอย่างนั้น อันนี้อย่างหนึ่ง
เวลาเรากราบ เรากาหนดได้ เวลาเราเดิน ก็เช่นเดียวกัน ตอนเดิน ไม่ใช่เฉพาะเดินจงกรม ที่บอกว่าอิริบาบถย่อย ไม่ใช่เดินจงกรม เดินไปทา ธุระต่าง ๆ ขณะที่เราเดิน เดินซ้าย ขวา ซ้าย ขวา เรามีสติ สังเกตต้นจิตว่า รู้ก่อนยก รู้ก่อนยก รู้ก่อนยก... รู้ก่อนอาการเท้าจะยก นั่นคือสังเกต “ต้น จิต” “ต้นจิต” กับ “อาการ” เป็นของคู่กัน พอเรารู้ต้นจิต รู้ก่อนยกปึ๊บ ถาม ว่าเราไปรู้อะไรต่อ ? ก็รู้อาการนั่นแหละ พอรู้ก่อนยก รู้สึกปึ๊บ ก็ตามอาการ ขณะที่ตามอาการยก การเคลื่อนไป เราต้องสังเกตยังไง ?
อย่างที่บอกแล้ว ต้องสังเกตว่าอาการเคลื่อนไปนั้น มีลักษณะ อย่างไร ? การก้าวเท้าของเรา มีอาการอย่างไร ? เขานิ่ง หรือว่าซัดส่าย หรือ ว่ามีอาการเป็นเส้น หรือว่ามีอาการสะดุด สะดุดไป ? นั่นคือสังเกตอาการต่อ ไม่ว่าจะเดินไปในอิริยาบถย่อยหรือเดินจงกรม แต่ทีนี้ว่า ขณะอยู่ในอิริยาบถ


































































































   320   321   322   323   324