Page 320 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 320

296
อย่างเช่น มองอาจารย์ จิตก็มาที่อาจารย์ รู้ที่อาจารย์ รู้ว่าอาจารย์ทาอะไร ใช่ ไหม ? แต่พอมาดูที่รูปนั่ง มันก็จะแวบไปที่รูปนั่ง รู้เสร็จ พอหันมาดูที่อาจารย์ จิตก็จะแวบมาที่อาจารย์ ตรงนี้คือจิตเราไม่ได้อยู่ในตัว แต่อยู่ที่ “อารมณ์ที่ เกิดขึ้น”
เพราะฉะนั้น การที่เรากาหนดรู้จิตตรงนี้ ที่เราย้ายจิต ที่บอกให้ไปรู้ ที่มือ รู้ที่แขน รู้ที่สมอง การที่เราฝึกตรงนี้ ต่อไปเราจะเป็นผู้ชานาญในการ “วางตาแหน่งของสติ” เวลาเรากาหนดอารมณ์ เราวางสติเราอยู่ตรงไหน ? อยู่ นอกอารมณ์ อยู่ที่เดียวกับอารมณ์ หรืออยู่ข้างในอารมณ์ ? เราเป็นผู้กาหนด แล้วทีนี้ ลองดูนะ ขณะที่เห็น แทนที่จะให้จิตเราไปติดอยู่ที่ภาพที่เห็น ลองดู วางตาแหน่งของสติให้อยู่ประมาณนี้ รู้สึกเป็นไง ? นี่คือวางตาแหน่งของ สติเรา วางจิตของเรา
ปกติทุกครั้งที่เราเห็นอะไร จิตเราจะไป “ติด” อยู่กับภาพที่เห็น ใช่ ไหม ? จะเข้าไปชนภาพนั้น แล้วลองดูว่า ขณะที่เราเห็น จิตที่ “ติดกับภาพ” กับ “อยู่ข้างหน้า” ต่างกันอย่างไร ? (โยคีกราบเรียนว่า อยู่ข้างหน้าชัดกว่า) อันไหนสบายกว่ากัน ? (โยคีกราบเรียนว่า อยู่ข้างหน้า) อยู่ “ข้างนอก” สบาย กว่า! ตรงนี้แหละอย่างหนึ่ง การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ เราจะ “ดึงอารมณ์” นั้น เข้ามาที่ใจ หรือว่าให้เขา “ดับอยู่ตรงนั้น” ? ที่บอก “เกิดที่ไหน ดับที่นั่น” แต่ เรา “เกิดที่นั่น มาดับที่นี่” ทุกที! เห็นปึ๊บมันก็เข้าถึงใจปั๊บ แล้วเราก็ร้องว่า “หนัก!” ยิ่งอารมณ์มีกาลังมาก พอเห็นปึ๊บ วิ่งเข้ามาเลย “กระแทก” ที่ใจ... จุก! อึดอัด! หายใจไม่ออก! เพราะอะไร ? เรา “ดึงอารมณ์” นั้นเข้ามา
ทีนี้ ที่อาจารย์บอกว่า ให้ “ย้ายจิต” และ ให้ “จิตกว้างกว่าตัว” ลอง สังเกตดูนะ ประโยชน์ของการทาให้จิตเรากว้างกว่าตัว อันนี้ต้องพิสูจน์! ตอนนี้ให้จิตเรากว้างกว่าตัว คลุมตัว แล้วลองสังเกตดูว่า อารมณ์ที่เข้ามา กระทบ เขา “เข้าถึงตัว” หรือ “อยู่ที่ว่าง ๆ” ? เสียงที่ได้ยิน เข้ามาที่หูหรือ ตั้งอยู่ที่ว่าง ๆ ? ให้จิตที่คลุมตัวนี่กว้างหน่อยนะ ไม่ต้องคลุมแคบ ๆ คลุม


































































































   318   319   320   321   322