Page 323 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 323

299
ย่อยเราจาเป็นต้องเดินเร็วกว่าเดินจงกรม คือเดินธรรมดา ทีนี้เราจะสังเกต อย่างไร ? จะกาหนดตรงไหน ? สังเกตให้ได้ว่า เวลาเราก้าวเท้า ระหว่างยก กับสัมผัสพื้น จุดกระทบกับการยก อันไหนชัดกว่ากัน ? ให้เราสังเกต “อาการ ที่ชัดที่สุด” แล้วสติเราจะอยู่กับปัจจุบัน
อาการที่ปรากฏชัดแก่เราขณะนั้น ถ้าเราสังเกต “จุดที่ชัดที่สุด” จิตก็ จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นจุดที่ยกหรือกระทบก็ตาม จะใช้คาบริกรรม หรือไม่ก็ตาม ถ้าเรารู้ชัด ยก กระทบแล้ว สังเกตต่อว่า จุดกระทบที่เรา สัมผัส เขามีอาการอย่างไร ? ดับอย่างไร ? อย่างเช่น สัมผัสลงแล้วมีอาการ กระจาย หรือแวบดับไป หรือมีอาการกระเพื่อมออก หรือเป็นฝุ่นละออง ไป ? อันนี้แล้วแต่นะ บางคนอาจจะไม่เห็น แต่บางคนก็อาจจะเคยเห็น คือ สังเกตอาการเกิดดับของเขา เราก็จะกาหนดได้ทัน มีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน ต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น จิตก็จะตื่นตัว หรือสติก็จะตามอาการได้ทัน อันนี้คือ การกาหนดอิริยาบถย่อย
ทีนี้ อาการในอิริยาบถย่อยมีเยอะ ที่จริงแล้วหลักการง่าย ๆ เหมือน กันว่า ขณะที่เราเดิน เรารู้จุดยกกับจุดกระทบ เวลาเราหยิบจับก็เหมือนกัน เวลาเราเอื้อมมือไป ก่อนจะขยับไป เรารู้ก่อนไหม ? รู้สึก แล้วก็ขยับไป ขยับ ไป เราสังเกตอย่างไร ? ต้องเกาะติดไปกับอาการกับมือ แล้วขณะที่เกาะไป การเคลื่อนไหวมีลักษณะอย่างไร ? เป็นกลุ่ม เป็นเส้นบาง ๆ หรือเป็นใส ๆ หรือเป็นเงา ๆ ไป ? แล้วพอสัมผัสปึ๊บ เขามีอาการดับยังไง ? สัมผัสปึ๊บ แวบหายไป หรือแวบขึ้นมานิดหนึ่ง แล้วก็ดับไป ? ตรงนี้สังเกตอาการต่อ เนื่อง นี่การพิจารณาการกาหนดอิริยาบถย่อย
ทีนี้ เวลาเราจะยก ค่อย ๆ ยก เพื่ออะไร ? เพื่อมีสติอยู่กับปัจจุบัน แต่บางทีโยคีก็ถามอาจารย์ว่า ถ้าเรากลับไปจะทายังไงดี อาจารย์ ? อยู่ที่ บ้านเราทาช้าไม่ได้ อยู่ที่บ้านไม่เหมือนที่นี่ ไม่มีเวลาให้ช้า ต้องเร่งรีบ! การ เจริญสติ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ก็ต้องมีสติ ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ก็ต้อง


































































































   321   322   323   324   325