Page 324 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 324

300
มีสติ ที่บอกว่า เรามาตรงนี้ เราฝึกให้ทัน จริง ๆ ไวนะ อย่างเช่น อาการ เกิดดับ เวลาเราเดินแล้วมีอาการ “สันตติของรูปขาด” มันขาด ปึ๊บ ปึ๊บ ปึ๊บ ปึ๊บ... ลองตามให้ทันอาการที่มัน ปึ๊บ ปึ๊บ ปึ๊บ ปึ๊บ ปึ๊บ... เร็ว ๆ สิ! สติเรา จะไวขึ้นเยอะ ไปตามอาการที่มัน แวบ ๆ ๆ คืออาการเกิดดับของเขา
อาการยิ่งเกิดดับเร็ว เรายิ่งมุ่งเข้าไปเร็ว ๆ สติเราจะไวขึ้นเยอะ ต่อ ไปเวลาเราไปอยู่ข้างนอก กลับบ้านไปแล้ว เวลาเราจะหยิบจับอะไรเร็ว ๆ ทา อะไรเร็ว มันก็จะรู้ทันที มันก็จะวุบ วุบ วุบ ไป จะไวขึ้นเยอะ และถ้าให้สติ เราใหญ่กว่าตัวด้วยนี่ยิ่งไว จิตจะสั่งงานเร็วและสงบ ถ้าเรากาหนดรู้อย่างไม่มี ตัวตน ที่รู้ว่ามีเราหรือไม่มีเรา แล้วเขาเกิดดับยังไง อันนี้จะใช้ประโยชน์ได้ แต่ ถ้าอยู่ในนี้ เราจะใช้อย่างนั้นได้ไหม ? ไม่ต้องเร็วขนาดนั้นก็ได้นะ เคลื่อนไหว ช้า ๆ ก็ได้ ไวเกินเดี๋ยวก็จะแปลกเอา!
จริง ๆ แล้วนี่ หนุ่ม ๆ เขาก็ถามอาจารย์ว่า อาจารย์ เราทาเร็ว ๆ ได้ ไหม ? ได้! แต่ต้องเร็วอย่างมีสติแล้วจะสงบ ถ้าเร็วแบบไม่มีสติแล้ววุ่นวาย แต่ในสถานที่นี้เราเดินกันอย่างสงบอย่างสารวม อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่เรา เดินช้า ๆ เขาเรียก “ฝึกสารวมกาย” สารวมกายให้อารมณ์เราเหลือน้อย ที่สุด เพื่อให้สติเราได้ตามรู้อารมณ์หลัก อารมณ์หลักน้อยลง สติเราก็จะ ตามรู้ได้ง่าย อย่างเราเดินจงกรม ทาไมต้องเก็บมือ ? ถ้าเราแกว่งมือ ดูสิว่า จะมีกี่อารมณ์ ? เท้าซ้าย เท้าขวา แขนซ้าย แขนขวา แล้วมันก็จะวิ่งไปวิ่งมา ใช่ไหม ? แต่ถ้าเราสารวมมือปึ๊บ เหลือแต่ ซ้ายขวา ซ้ายขวา แล้วยังมี ยก ย่าง เหยียบ อีก ขนาดนั้นยังเยอะแล้ว!
อย่างที่บอกแล้วว่า การสารวมกายของเราเป็นสิ่งที่ดีแล้ว การที่จะ กาหนดให้จิตเรารวมและแนบแน่นอยู่กับอาการ ต้องมีเป้าหมายอย่างชัดเจน เวลาเรากาหนดอาการก้าวเดินของเรา ถ้าจุดกระทบชัด ให้เน้นที่จุดกระทบ ไปเลย กระทบครั้งนี้ดับอย่างนี้ กระทบครั้งต่อไปดับยังไง กระทบต่อไปดับ ยังไง... เน้นตรงนั้น เพราะอาการนั้นชัดที่สุด ตอนที่ก้าวแล้วว่างไปเฉย ๆ ก็


































































































   322   323   324   325   326