Page 325 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 325

301
ไม่ต้องไปกังวล มันหายไปแล้ว ไปชัดตอนกระทบ ก็เน้นที่จุดกระทบ แต่ถ้า จุดกระทบไม่ชัด ชัดตอนยก จุดกระทบมันเบาไปเฉย ๆ ให้เน้นที่ ยกใหม่ ยกใหม่ ยกใหม่... ให้ทันตรงที่เรายกเท้าก้าวใหม่ แล้วเขาดับยังไง ยกแล้ว ดับยังไง ยกแล้วดับยังไง... นั่นคือวิธีกาหนดอาการเกิดดับในขณะเดิน
ในอิริยาบถย่อยอาการเยอะ อย่างเช่น เวลาเราล้างหน้า สังเกตดูว่า เวลาเราเอามือสัมผัสลูบหน้า สัมผัสถูกอะไร ? สัมผัสถูกหน้าหรือสัมผัสถูก ความว่าง ? อาการสัมผัสหน้าเรานี่ เป็นเส้น หรือเป็นแผ่นเหมือนฝ่ามือ หรือ แค่สัมผัสเป็นบางจุดเท่านั้นเอง ? (โยคีกราบเรียนว่า เป็นจุด ๆ เป็นส่วน ๆ) นี่คือลักษณะอาการเกิดดับที่เราสามารถสังเกตได้ เวลาเราแปรงฟัน แล้ว สะบัดแปรง สังเกต เวลาสะบัดแต่ละครั้งเขาดับยังไง ? แวบหาย แวบหาย แวบหาย หรือว่า ต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย ? นี่คืออิริยาบถย่อยที่เราสามารถ กาหนดได้
อย่างน้าถูกหน้าเรา มันมีอาการเย็น พอเย็นวาบเข้ามา หายยังไง ? เย็นแล้วดับอย่างไร ? เย็นแบบเป็นแผ่นหรือเป็นจุด ? ตรงนี้คืออาการใน อิริยาบถย่อยทั้งหมดที่เราต้องกาหนดถ้าจะให้สติต่อเนื่องจริง ๆ ทีนี้ เวลา ทานอาหาร เป้าหมายของการพิจารณาอาหาร คืออะไร ? ที่เรากาหนดขณะ เคี้ยว เพื่อให้สติอยู่กับอาการเคี้ยวอย่างเดียว หรือเพื่อไม่ให้ติดในรสชาติ ? เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติ ใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น อาหารที่เขาทามาก็จะไม่รู้สึก ว่าต้องบ่นแล้ว อาหารอะไรก็ได้หมด จืดก็จืดสิ! อาหารจืดมีรสชาติไหม ? (โยคีกราบเรียนว่า ไม่มี) แน่ใจนะ ? ไม่มีแล้วจะบอกได้ยังไงว่าจืด ?
เหมือนกัน ที่เราเห็นความว่างแล้วบอกว่าไม่มีอะไร ที่จริงมันมีความ ว่าง ใช่ไหม ? เหมือนเวลาใจเราว่าง เราบอกใจเราไม่มีอะไรเลย ที่บอกว่า ไม่มีอะไรเพราะไม่มีอารมณ์รบกวน อันนี้คือที่เรามองข้าม ใช่ไหม ? อันนี้ คือสภาวะจริง ๆ ที่เกิดขึ้น เคยกาหนดพองยุบได้ แล้วรู้สึกพอพองยุบ หายไป ไม่มีอะไรให้ดูเลย ว่างอย่างเดียว! ความว่างก็คือ “อารมณ์ของจิต”


































































































   323   324   325   326   327