Page 327 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 327

303
หายไปในที่ว่างหรือเปล่า ? ถ้าเราสังเกตอย่างนี้ ลองสังเกตดูสิว่า ความยินดี ค ว า ม พ อ ใ จ ใ น อ า ร ม ณ เ์ ห ล า่ น นั ้ เ ป น็ อ ย า่ ง ไ ร ? ค ว า ม ย นิ ด คี ว า ม พ อ ใ จ ใ น อ า ร ม ณ ์ เหล่านั้นเกิดหรือไม่ ? หรือความไม่พอใจในอารมณ์เหล่านั้นเกิดหรือไม่ ? นี่ คือการพิจารณาว่า การรับรสแล้วทาอย่างไรถึงจะไม่ให้เกิดกิเลส ?
นอกจากรู้ว่าสิ่งที่เรารับไปเพื่อประโยชน์อะไร อันนี้คือการรับรู้เพื่อ ไม่ให้ยึดติดในรส แต่ต้องรู้ว่ารสนั้นเป็นรสอะไร เปรี้ยวหวานมันเค็มควรจะ รู้ เพราะธรรมชาติของลิ้นอย่างไรก็ต้องรู้ เพราะลิ้นทาหน้าที่รับรส ลิ้นเขาไม่ ปฏิเสธรส เอาของขมใส่เข้าไป เขาก็บอกว่าขมนั่นแหละ เอาของหวานใส่เข้าไป เขาก็บอกว่าหวาน จะชอบหรือไม่ชอบนั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ลิ้นเขาทาหน้าที่รับ รู้รส เพียงแต่ว่ารสชาติที่เกิดขึ้นทาให้กิเลสเราเกิดไหม ? อันนี้อย่างหนึ่ง
ทีนี้ ที่บอกว่า “รสชาติก็ไม่เที่ยง” เคยสังเกตไหมว่า มันไม่เที่ยง อย่างไร ? ถ้ารสชาตินั้นเที่ยง เลี่ยน! ใช่ไหม ? โยมแค่คิดยังเลื่ยนเลย ใช่ไหม ? คุณโยมเจออาหารที่มัน ๆ ก็บอกว่าได้กลิ่นก็เลี่ยนแล้ว เพราะ อะไร ? กลิ่นที่บอกถึงรสอันนั้นทาให้เรารู้สึกเลี่ยน เคยสังเกตไหม แม้แต่ รสชาติที่เราชอบที่สุด ถ้าค้างอยู่ในปากเราสักสิบนาทีโดยที่ไม่มีอาการจางไป บ้างนี่ รับรองเลี่ยนแน่นอน! ของหวานถ้าหวานตลอดเวลา เราก็จะรู้สึกไม่ ดีแล้ว สังเกต ของหวานหรืออาหารที่เราชอบ ต้องกลืนผ่านไป แล้วรสชาตินั้น ก็หายไปแป๊บหนึ่ง แล้วก็เติมเข้าไปใหม่ กลืนผ่านไป แล้วก็เติมเข้าไปใหม่... เพื่อรักษาความอร่อยเอาไว้ ไม่งั้นเลี่ยน! นั่นคือความไม่เที่ยง
แต่ถ้าสังเกตจริง ๆ ก็คือว่า รสชาติของอาหารที่เกิดขึ้นนี่ เราจะเห็น ว่า ถ้ามีสติรู้ ถ้าไม่เติมใหม่เข้าไป เขาก็จะค่อย ๆ หายไป ค่อย ๆ ดับไป เหมอื นกนั นคี่ อื การพจิ ารณาความไมเ่ ทยี่ งของรสชาติ แตเ่ หน็ “ความไมเ่ ทยี่ ง” เพื่ออะไร ? ตรงนี้ที่เราต้องรู้ว่า พิจารณาความไม่เที่ยงของรสชาติ เพื่อ อะไร ? ก็ย้อนกลับมา เพื่อความ “ไม่ยึดติด” ในรสชาติอันนั้นเหมือนเดิมอีก เมื่อเราเห็นว่าเขาอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้วไม่ยึดติด แล้วจะเป็นยังไง ? จาเป็นต้อง


































































































   325   326   327   328   329