Page 328 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 328

304
ไปดู เอามาใส่บ่อย ๆ ไหม ? เรารู้แล้วก็ผ่านได้เลย พิจารณาดูว่ารับเข้าไป แล้วเป็นคุณหรือเป็นโทษ นั่นคือการพิจารณารสชาติของอาหาร
ทีนี้ การพิจารณารสชาติของอาหารที่บอกว่า ความไม่เที่ยงคือ “อาการ เกิดดับของรส” ที่เกิดขึ้น ถ้าจะละเอียดมากขึ้นอีก อันนี้เฉพาะรสนะ ไม่ว่า จะเปรี้ยวหวานมันเค็มก็ตาม ในความหวานครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ความหวานนั้น เป็นก้อน หรือมีอาการเกิดดับอยู่ในนั้นหลาย ๆ ขณะ ? แต่อันนี้จะยากนิด หนึ่ง เพราะเป็นอาการที่มันผ่านไปเร็วแล้วก็ละเอียด แต่วิธีการสังเกตอาการ เกิดดับที่ดีที่สุดในขณะที่เรารับประทานอาหาร สติเราจะอยู่กับปัจจุบันได้ดี ที่สุดก็คือ การพิจารณา “อาการเคี้ยว” ของเรา
การเคี้ยวแต่ละคา แต่ละคา สัมผัสแล้วดับยังไง ? เคี้ยวแล้วดับ อย่างไร การเคี้ยวแต่ละขณะ ขณะ ขณะ ? จะให้ดีก็คือว่า ให้จิตเราไปรู้ อยู่ที่ “จุดกระทบ” ระหว่างการเคี้ยว เวลาเราเคี้ยวแต่ละคา เคี้ยวถูกจิต เคี้ยวถูกความรู้สึกเราด้วยหรือไม่ ? อันนี้จะละเอียดขึ้นเยอะ และสติเราจะ อยู่กับปัจจุบัน ถ้าเคี้ยวถูกจิต เคี้ยวถูกความรู้สึกเราด้วย เคี้ยวถูกแล้วเขา ดับไหม ? ดับแล้วเป็นยังไง ? จิตดวงใหม่เกิดขึ้นเป็นยังไงอีก ? เวลากลืน เข้าไป ก็ตามอาการกลืน กลืนเข้าไปในที่ว่าง ๆ หรือเปล่า ? เวลาหายไป จิต ที่ทาหน้าที่รู้ถึงอาการกลืนดับไปด้วยหรือเปล่า ? อันนี้การกาหนดอิริยาบถ ย่อยอย่างพิสดาร อย่างละเอียด
ถ้าต้องการให้สติเรามีความต่อเนื่อง ต้องกาหนดในลักษณะอย่างนี้ ที่สาคัญที่บอกว่า จิตเข้าไปอยู่ในอาการระหว่างการเคี้ยวที่ฟันกระทบกัน กระทบแล้วดับไป แล้วเกิดขึ้นใหม่ กระทบแล้วดับไป เกิดขึ้นใหม่... สังเกต อีกอย่างหนึ่ง ขณะที่เคี้ยว รู้สึกว่ามีตัวตนไหม ? เคี้ยวอย่างมีตัวตนหรือเคี้ยว อย่างไม่มีตัวตน ? มีความรู้สึกว่าเราเป็นคนเคี้ยวหรือมีสติทาหน้าที่รู้อาการ เคี้ยว ? เคี้ยว เคี้ยว เคี้ยว ดับ ดับ ดับ ดับ


































































































   326   327   328   329   330