Page 329 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 329

305
ทีนี้ สังเกตต่อไปว่า ขณะที่เรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน มีความอยาก เกิดขึ้นหรือเปล่า ? มีความพอใจไม่พอใจเกิดขึ้นหรือเปล่าในขณะที่รับรู้ถึง อาการเกิดดับของการเคี้ยว ? จิตที่ทาหน้าที่รับรู้อย่างไม่มีตัวตน เขาเรียก “จิตเป็นกลาง” ไม่มีความยินดี ไม่มีความพอใจ ไม่มีการปฏิเสธอารมณ์ นี่ “มัชฌิมา” เป็นอัพยากตธรรม จิตที่เป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายกับอาการที่ เกิดขึ้น เพียงแต่ทาหน้าที่รับรู้ เพราะฉะนั้น จิตขณะนั้นไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ จิตดวงนั้นก็เป็นกุศล นี่คือสิ่งที่เราต้องสังเกต ที่เรารู้ว่าเราปฏิบัติ เพื่ออะไร
และในแต่ละบัลลังก์ ในแต่ละวัน พอปฏิบัติเสร็จ รู้อาการเกิดดับ หมดไป “สภาพจิต” เป็นอย่างไร ? การเดินรอบหนึ่งสิ้นสุดลง เห็นอาการ เดินเกิดดับแบบนี้ พอเราหยุดยืนปึ๊บ ดูสภาพจิตเป็นยังไง ? มาดูที่รูป รูป มีอาการอย่างไร ? แล้วขณะที่เราหันซ้ายหันขวา สังเกตว่า เวลาเราหัน เขา เป็นเส้น หรือมีการดับเป็นขณะ ขณะ ขณะ ? นี่คือการสังเกตรายละเอียด ในอิริยาบถย่อย ถ้าจะให้ละเอียดจริง ๆ ต้องทาแบบนี้ แต่ถามว่า “จาเป็น” ไหม ? นักปฏิบัติก็ควรเจริญสติให้ต่อเนื่องถ้าจะให้สติเราไว
ต่อไปจิตเราเบาขึ้น จิตตื่นตัว จิตผ่องใส จิตเบา กายเบา สติเราช้า หรือไว ? จะไวโดยอัตโนมัติ ใช่ไหม ? เห็นอะไรก็จะรู้สึกทันที รู้สึกทันที ก็ ให้เรา “รู้ชัด” ตามนั้น จิตเราไปรู้อะไร ให้เรารู้ชัดว่าเรากาลังรู้สิ่งนั้นอยู่ นั่น คือการ “รู้อย่างมีสติ” อย่างที่บอกแล้วว่า เรา “ย้ายตาแหน่งของจิต” ได้ เห็น อาจารย์จิตก็มาที่อาจารย์ พอมีเวทนามันก็แวบไปที่เวทนา พอรู้สึกเย็นรู้สึก หนาวก็แวบไป สังเกตตรงนี้! ความเย็นร้อนอ่อนแข็งเคร่งตึงเป็นลักษณะ ของธาตุที่ปรากฏขึ้นเวลาเราปฏิบัติ
บางคนมีความร้อนขึ้นมาแล้วแผ่ออก จุดที่ต้องสังเกตก็คือว่า ความ ร้อนที่เกิดขึ้นนี่ เมื่อเรามีสติเข้าไปรู้ เขาเป็นก้อนแล้วรวมกลุ่มกันมากขึ้น หรือ ความร้อนนั้นจากจุดหนึ่งแล้วแผ่กระจายออกไป ? ถ้าแผ่กระจายออกไปนี่


































































































   327   328   329   330   331