Page 332 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 332

308
อีกอย่างหนึ่ง เวลาเราฟังธรรม ขณะที่เราฟังเข้าใจ ลองดูจิตใจรู้สึก เป็นยังไง ? (โยคีกราบเรียนว่า เบิกบาน มีความสุข) อันนี้ไม่แน่นะ เวลาเรา ฟังเพลงเราก็มีความสุข เบิกบานเหมือนกันแหละ! ใช่ไหม ? สิ่งที่ต้องสังเกต ดูว่า เวลาเราฟังเข้าใจ ลองดูสภาพจิตเรา นอกจากเบิกบาน นอกจากมี ความสุขแล้ว รู้สึกเป็นไง ? (โยคีกราบเรียนว่า รู้สึกเย็น ตื่นตัว) สังเกตต่อ อีกนิดหนึ่ง จิตที่ “ตื่นตัว” มีลักษณะอย่างไร ? เห็นไหม ความละเอียดของ จิตยังมีต่อได้
เวลาเราฟังอะไรเข้าใจ จิตเรารู้สึกสลัวหรือสว่าง ? หรือฟังแล้วรู้สึก ว่า อ้อ! เข้าใจแล้ว ตาสว่างแล้ว! เคยได้ยินไหม “เข้าใจแล้ว ตาสว่างแล้ว!” สังเกตดู อันนี้เป็นภาษาที่อาจารย์รู้สึกทึ่งคนสมัยก่อน พอคนมีสติ เขาเรียก ว่า “ตาสว่างแล้ว” ลองดู เวลาเรามีโทสะ จิตเราสว่างหรือมืด ? เคยสังเกต ไหม ? มันทึบ มันหนัก มันแน่น แต่พอมีสติปึ๊บ เออ! มันคลาย แล้วก็เริ่ม สว่างขึ้นมา อาจารย์จึงบอกว่าคนสมัยก่อนเขาใช้ภาษาตรงกับ “อาการ” ที่เกิด ขึ้น เขามักจะพูดว่าตาสว่างแล้วสิ ได้คิดแล้ว! นั่นแหละคือลักษณะของจิต ที่เกิดขึ้น ลองสังเกตดี ๆ
เพราะฉะนั้น เวลาเราฟังธรรม ถ้าเราเข้าใจแล้ว อยากให้จา! ฟังให้ เยอะแล้วจาเท่าที่เราจาเป็นต้องใช้ เมื่อใช้หมดแล้วสิ่งที่เราฟังมามันก็จะเกิด ฟังธรรมะแล้วก็ย้อนกลับมาดูว่า คาพูดตรงไหนบ้างที่ตรงกับสภาวะของเรา คาพูดตรงไหนบ้างที่เรายังไม่เข้าใจ แล้วรู้สึกว่าเข้าใจขึ้นมา แล้วทาต่อได้ อัน นี้แหละสาคัญ การปฏิบัติของเราจะได้พัฒนา ฟังธรรมะจบแล้วไปทาต่อได้ ไม่ใช่ฟังธรรมะจบ กลับออกไป อืมม! ดีจังเลย... ทายังไง ? เหมือนเดิม! เหมือนเดิมแสดงว่าไม่พัฒนา การฟังธรรมะเพื่อการปฏิบัตินั้น ต้อง “จาให้ ได้” ว่า สิ่งที่เราต้อง “ทาต่อไป” คืออะไร
อาจารย์พูดแบบนี้นี่ อย่าคิดว่าอาจารย์ลืมการบ้านที่ให้ไปตอนเช้านะ อาจารย์พูดธรรมะพูดแบบนี้ ตอนเย็นก็พูดแบบกว้าง ๆ เพื่อให้เราลองเอา


































































































   330   331   332   333   334