Page 338 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 338

314
จริง ๆ แล้วคือตัวมรรค บางทีเราเห็นทุกข์ แต่ไม่เคยใส่ใจว่าเป็นทุกข์ ไม่รู้ จักว่ามันเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร
บางครั้งเราแยกไม่ออกระหว่างความทุกข์กับปัญหาที่เกิดขึ้น ความ ทุกข์ก็ส่วนหนึ่ง ปัญหาก็ส่วนหนึ่ง ลองฝึกแยกนะ! อย่างที่บอกว่าให้แยก ระหว่างกายกับจิต เขาเรียก “แยกรูปแยกนาม” ให้เห็นจิตเรากับตัวเป็น คนละส่วนกัน ให้เห็นจิตกับความคิดเป็นคนละส่วนกัน แค่ “สังเกต” โดยที่ เราไม่ต้องบังคับ ปัญญาจะเกิดขึ้นมาจากการหมั่นพิจารณาหรือสังเกต อาการที่เกิดขึ้น อันนี้เรารู้ธรรมชาติจริง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเราจริง ๆ บางทีโยคีปฏิบัติไป ถามว่า อาจารย์ ธรรมะเอาไปใช้กับชีวิตจริงได้ไหม ? ยังสงสัยเหมือนกันว่า ธรรมะไม่จริงตรงไหน ?
ธรรมะเป็นสัจธรรม เป็นของจริง “จริง ๆ” เพราะเกิดขึ้นกับชีวิต ของเราจริง ๆ ถ้าธรรมะไม่ใช่เรื่องจริง เวลาโยมทุกข์ โยมต้องถามตัวเองเลย ว่า ทุกข์จริงหรือเปล่า หรือแกล้งทุกข์ ? ความทุกข์ก็คือสภาวธรรม ที่บอก ว่าธรรมะเป็นเรื่องจริง เวลาปวดตอนที่นั่งกรรมฐานนี่ ปวดจริงไหม ? แล้ว เวลาปวดตอนอยู่ที่บ้าน ปวดจริงแบบเดียวกันหรือเปล่า ? มีรสชาติแบบ เดียวกัน มีลักษณะแบบเดียวกัน มีอาการแบบเดียวกันไหม ? เวลาปวด มาก ๆ ทาหน้าตาเหมือนกันไหม ? นั่นคือธรรมะเป็นของจริง! เป็นสภาวะ จริง! เป็นชีวิตจริง!
เวลาเรามีความสุข ไม่ว่าจะนั่งอยู่ที่นี่หรืออยู่ที่บ้าน ถามว่า มีความสุข เหมือนกันไหม ? ขณะที่มีความสุขเกิดขึ้น ก็เป็นความสุขแบบเดียวกัน เพียงแต่ว่าเป็นความสุขที่อาศัยอะไรเป็นเหตุ ใช้เหตุแบบเดียวกันหรือคนละ เหตุกัน อย่างเช่น เราอยู่ตรงนี้ เรามีความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม เหตุ ของความสุขตรงนี้เกิดจากการปล่อยวาง เกิดจากจิตที่เป็นกุศล เกิดจาก ปัญญาของเรา แต่ถ้าเราไปที่บ้าน เรามีความสุข เพราะอาศัยเหตุจากคน อื่นหรือจากสิ่งอื่น มีคนเอาใจก็เป็นสุข มีคนขัดใจก็เป็นทุกข์ หรือได้ดั่งใจก็


































































































   336   337   338   339   340