Page 339 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 339

315
เป็นสุข ไม่ได้ดั่งใจก็เป็นทุกข์
แล้วตรงนี้ที่เรามาปฏิบัติธรรม ที่บอกนาไปใช้กับชีวิตของเราได้ “สติ”
คือสิ่งที่จาเป็นสาหรับคนเราทุกคน ธรรมะตัวสาคัญคือ “สติ” กับ “ปัญญา” เป็นสิ่งจาเป็นกับชีวิตทุกคน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ใครก็ตามที่มีสติ มีปัญญา ชีวิตก็จะดี แต่เมื่อไหร่ที่ขาดสติ ก็จะไม่ดีแล้ว ความทุกข์เกิดได้ ง่าย ยิ่งไม่มีปัญญาก็จะรักษาความทุกข์ไว้นาน ไม่มีสติไม่มีปัญญา ความ ทุกข์เกิดง่าย รักษาไว้นาน แต่ถ้าคนมีปัญญา มีสติขึ้นมา รู้ว่าทุกข์ ก็รีบดับ ความทุกข์ สลัดความทุกข์ออกได้เร็ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่สาคัญคือ “สติ” กับ “ปัญญา” เราต้องนามาใช้เป็นเรื่องปกติของชีวิต พยายามอย่าแยกธรรมะ กับชีวิต เพราะตัวชีวิตเองคือ “ธรรมะ”
“พิจารณาธรรมะ” คือพิจารณาอะไร ? พิจารณาอาการของกายของ จิต ใช่ไหม ? พิจารณาอาการของกายของจิต ก็คือ “ชีวิต” อันนี้นี่เอง คือ กายใจเรา เรากลับบ้าน เอากายเอาจิตตัวนี้วางไว้ตรงนี้ แล้วก็กลับไปอีกตัว หนึ่งหรือ ? ไม่ใช่! ก็คือกายจิตตนนี้แหละที่กลับไปบ้าน ไปอยู่ที่บ้าน เพียง แต่ว่าเรามาพัฒนาสติ พัฒนาปัญญาของเรา ให้เข้าใจถึงธรรมชาติของรูปนาม เราอาศัยสติ อาศัยปัญญา ทาให้เรานั่งอยู่ได้สบาย ๆ ไม่ทุกข์ นี่แหละคือ สิ่งสาคัญ!
แล้วธรรมะที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเห็นถึงความไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ที่เราพิจารณาอยู่นี้ ไม่ใช่แค่กายกับจิตที่กาลังเป็นอยู่ขณะนี้เท่านั้น แม้แต่อารมณ์ที่เกิดทางทวารทั้ง ๖ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ ที่เกิดกับใจ ที่เราใช้สติกาหนดในอิริยาบถย่อยต่าง ๆ นี่ เพื่ออะไร ? เพื่อ ไม่ให้อารมณ์เหล่านั้นมาปรุงแต่งจิตให้เราเป็นทุกข์ หรือเพื่อให้เราเข้าใจถึง ธรรมชาติ และไม่ให้เราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็น ของเรา เพราะฉะนั้น ที่เราพิจารณาเห็นกายเห็นจิตตัวนี้บอกว่า “ไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา” เราเห็นอะไร ?


































































































   337   338   339   340   341