Page 341 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 341

317
แหละคือเราทาด้วยใจ ด้วยความเคารพ ด้วยความศรัทธา เราก็จะอยู่ใกล้! เพราะฉะนั้น เวลาคนไม่สบาย ใกล้วาระสุดท้าย เขาจะบอกให้ระลึก ถึงพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ เพื่อที่ใจจะเป็นกุศล สังเกตดู เวลาเรา ระลึกถึงพระพุทธเจ้า รู้สึกอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า จิตใจเรารู้สึกเป็นไง ? รู้สึกดี ใช่ไหม ? อบอุ่น ไม่โดดเดี่ยว จิตใจเราจะผ่องใส และมีพลัง นั่นคือพลานุภาพ ของพระพุทธเจ้า เวลาเกิดไม่สบายขึ้นมา ถามว่า จะระลึกถึงอะไรดี ? ระลึก ถึงธรรมข้อไหนดี ? ขอแนะนาให้ระลึกถึง “พระพุทธเจ้า” เลย ไม่ต้องระลึก ถึงธรรมข้อไหนหรอก! ระลึกถึงพระพุทธเจ้า นั่น “ศูนย์รวมแห่งธรรม” ระลึก ถึงพระพุทธเจ้า แล้วใจเราจะมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นศูนย์รวม แห่งธรรมทั้งหลาย เป็นผู้แสดงธรรมทั้งหลายให้เราได้ฟังกัน ตรงนั้นแหละ! ไปไกลแล้วนะ... พูดถึงว่ากลับบ้านแล้วจะทายังไง เพราะฉะนั้น พอกลับถึง บ้านแล้ว วิธีปฏิบัติก็ไม่ต่างกัน และถ้าใครที่รู้สึกว่า แยกรูปนามและทาจิตให้ ว่างได้แล้ว สามารถใช้จิตที่ว่างทาหน้าที่ “รับรู้อารมณ์” ได้ เอาไปใช้ได้เลย! อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ถ้าอยากให้จิตเรามีกาลัง อย่างที่บอกเมื่อกี้แหละ ทาจิต ให้ว่าง แล้วน้อมถึงพระพุทธเจ้า น้อมถึงบุญที่เราเคยทา แล้วเติมเข้ามาให้ “เต็มเข้าไปที่ใจ” ของเรา น้อมเข้าไปให้เต็มที่ใจ ที่ตัว แล้วให้ “กว้าง” ให้ใจ ที่มีความสุขหรือใจที่อิ่มนี่ กว้างเท่าห้องนี้ แล้วสังเกตดูว่า ขณะที่นั่งนี่ รู้สึก ไหมว่าเรานั่งอยู่ที่ไหน ? นั่งอยู่ในศาลา ? นั่งอยู่ในอาคาร ? หรือนั่งอยู่ในที่
ว่าง ๆ ? (โยคีกราบเรียนว่า นั่งในที่ว่าง ๆ )
ลองค่อย ๆ ลืมตาขึ้นมา ขณะที่เราลืมตาขึ้นมา ลองสังเกตว่า ใจเรา
ยังว่างอยู่ไหม ? ยังว่างอยู่นะ ลองให้ใจที่ว่างทาหน้าที่รับรู้ รับรู้ยังไง ? ใจ ที่ว่างทาหน้าที่เห็น ลองง่าย ๆ อีกนิดหนึ่งว่า ถ้าเราเอาใจที่ว่าง ๆ มาไว้ที่ตาเรา ลองดูว่าบริเวณตานี่รู้สึกยังไง ? รู้สึกหนัก ? รู้สึกเบา ๆ ? รู้สึกว่าง ๆ ? รู้สึกใส ๆ ? รู้สึกเบา ๆ ใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็น เราใช้ใจที่เบา ๆ ให้ไปที่ภาพที่เห็น ลองดูว่ารู้สึกเป็นไง ? ถ้าใช้อย่างนี้ได้ และลืมตาได้นี่ เรา


































































































   339   340   341   342   343