Page 340 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 340

316
เราเห็น “แก่นของธรรมะ” แต่พอเรากลับไป เราก็ไปยึดกระพี้! เราทิ้งแก่น ความเข้าใจตรงนี้ วางไว้ตรงนี้ก่อน กลับบ้านไม่ใช่นะ อีกเรื่อง หนึ่ง... เพราะเราคิดอย่างนี้นี่แหละความทุกข์จึงเกิดขึ้น เราไม่ได้อาศัย “ความ จริง” เป็นสรณะ ความจริงมีสองอย่างก็คือ ความจริงโดยสมมติ เขาเรียก “สมมติสัจจะ” เป็นคน เป็นเรา เป็นเขา เป็นผู้หญิงผู้ชาย แล้วก็ “ปรมัตถ สัจจะ” ความจริงโดยปรมัตถ์ ที่บอกว่ารูปนามอันนี้ไม่บอกว่าเป็นใครเลย ทา หน้าที่ของเขา จิตทาหน้าที่รับรู้ ร่างกายก็เป็นไปตามธรรมชาติ อาศัยอาหาร อากาศ แล้วก็ดาเนินไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ แก่ แล้ว ก็ตายไป นั่นคือการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ
ทีนี้ เราจะเอา “ความจริง” ตรงไหนมาเป็นที่พึ่ง แล้วจิตเราจึงจะ ไม่ทุกข์ ? โยมเคยคิดไหมว่า ระลึกถึงธรรมข้อไหนถึงจะไม่ทุกข์ ? ไม่เที่ยง หนอ ไม่เที่ยงหนอ ใช่ไหม ? พิจารณาถึงความไม่เที่ยง อ๋อ! มันไม่เที่ยง แล้วก็ปล่อยวาง! อ๋อ! ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา! ระลึกถึงความไม่มีตัวตน บ่อย ๆ ระลึกถึงความไม่เที่ยงบ่อย ๆ เขาเรียกว่า “ธรรมานุสติ” เอามาเป็น ที่ระลึก เราเข้าใจสภาพความเป็นจริง แล้วเราก็ปล่อยวาง เพราะเราเห็นแล้ว ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป รูปนามกายใจไม่บอกว่าเป็นเรา นี่ แหละถึงได้เรียก “ธรรมานุสติ” เราสวดธรรมานุสติอยู่ ใช่ไหม ? พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ ปุญญานุสติ อุปสมานุสติ... มีหลายอย่างให้เราระลึก
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เราระลึกถึง “ใคร” ใจเราถึงจะมี “กาลัง” ได้ เร็วที่สุด ? หรือระลึกถึง “ใคร” ใจเราถึงจะ “เป็นบุญ” ได้ง่ายที่สุด ? โยม ลองดูนะ โยมทาใจให้ว่าง แล้วน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า ลองดูว่ารู้สึก อย่างไร ? ทาใจให้ว่าง น้อมระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา ลองดู ว่า รู้สึกว่าตัวเองอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลพระพุทธเจ้า ? รู้สึกเป็นไง ? อยู่ใกล้ ใช่ ไหม ? ถ้าเราคิดธรรมดา ถ้าเราท่องแค่ “พุทโธ พุทโธ” อย่างเดียว กับเรา น้อมใจระลึกถึงพระพุทธเจ้า อันไหนอยู่ใกล้กว่ากัน ? น้อมใจ ใช่ไหม ? นี่


































































































   338   339   340   341   342