Page 344 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 344

320
ทาให้โทสะเราน้อยลง เราปฏิบัติแบบไหนแล้วโทสะเราถึงน้อยลง “ได้เร็ว” นั่นแหละเหมาะกับจริตของเรา
บางคนมีราคะจริต รักสวยรักงาม เรียบร้อย ทีนี้ว่า การรักสวยรัก งามไม่ใช่ผิดเสมอไป คนที่จิตใจมีระเบียบ รักความสะอาด ผิดด้วยหรือ ? อยู่ที่จิตเราเป็นกุศล คนเราไม่ใช่มีจริตเดียว เพราะฉะนั้น ถ้าเราเห็นที่ สะอาดสะอ้าน ปฏิบัติแล้วใจสบาย ใจสงบ ทาได้ดี ปฏิบัติได้ง่าย ปฏิบัติ แล้วความดีเราเจริญงอกงาม นั่นแหละเหมาะกับเรา! สังเกตง่าย ๆ แล้ว การปฏิบัติของเราเป็นไปเพื่ออะไร ? เพื่อ “ละ” เพื่อ “การดับทุกข์” ใช่ไหม ? แล้วถ้าปฏิบัติแล้วยิ่งเครียดยิ่งทุกข์นี่ เหมาะกับเราหรือเปล่า ? นี่คือการ พิจารณาแบบง่าย ๆ
แต่หลักสาคัญก็คือว่า ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติแบบไหน สิ่งสาคัญ ต้อง เป็นไปเพื่อความละ เพื่อการดับทุกข์ “ละ” อะไร ? ละอกุศลจิตของเรา ละ ตัวโลภะโมหะโทสะ ละกิเลสที่เกิดขึ้นอยู่ในใจของเรา ที่เข้าไปยึดมั่นถือ มั่น เข้าไป “ยึด” อะไร ? ยึดสิ่งที่เรามีแล้ว กับสิ่งที่ยังไม่เกิด ก็คือ “ความ อยาก” สิ่งที่มีอยู่แล้วตรงนี้คือ ทรัพย์สมบัติ ร่างกาย รูปต่าง ๆ แม้แต่ความ คิดของเราเอง ยึดทิฏฐิ ตรงนั้นแหละ! เพื่อละอะไร ? ละความมีตัวตน ความ เป็นเราเป็นเขา และให้เกิดปัญญารู้ตามความเป็นจริง แล้วยอมรับความจริง ที่เกิดขึ้น
เราเคยสวดมนต์ ใช่ไหม ? ที่พึ่งอันเกษมก็คือ “พึ่งความจริง” ความ เป็นจริงของรูปนาม ความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ แล้วความเป็นจริงที่เราจะ พึ่งแล้วมีความสุข พึ่งแล้วไม่เดือดร้อน พึ่งแล้วไม่วังเวง พึ่งแล้วมั่นคง คือ พึ่งความเป็นจริงที่ว่า “สรรพสิ่งทุกอย่าง ตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ และ เป็นอนัตตา” เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเข้าใจ และรับเอาความไม่มีตัวตน ไม่มีเรา มี “จิตที่ว่าง” เป็นที่พึ่ง เราจะไม่รู้สึกขาดอะไรเลย สังเกตดู เวลาจิตเราว่าง เราจะไม่รู้สึกว่าขาดอะไรเลย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่จิตไม่ว่าง เราจะรู้สึกว่าไม่มี


































































































   342   343   344   345   346