Page 346 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 346

322
ที่อาจารย์บอกว่า ทาจิตให้ว่างดูสิ แล้วน้อมถึงความสุขที่เราเคย ได้รับ ที่จริง อีกวิธีหนึ่งที่ง่ายที่สุดก็คือว่า เราทาจิตให้ว่าง แล้วเติม “ความ นิ่มนวลอ่อนโยน” เข้าไปในจิตที่ว่าง ๆ ของตัวเอง วิธีเติมแล้วจะชัดง่ายที่สุด ก็คือ บริเวณหัวใจ เขาเรียก “บริเวณหทยวัตถุ” จากคอถึงลิ้นปี่ ตรงนี้เป็นที่ อาศัยเกิดของจิต จากคอถึงลิ้นปี่ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ข้างซ้ายหรือข้างขวาอย่าง เดียว ถ้าจิตเราว่าง แล้วเติมความนิ่มนวลอ่อนโยนเข้าไปในจิตที่ว่าง ๆ ลอง ดูว่ารู้สึกยังไง ?
ลองสังเกตดูนะว่า เมื่อเราเติมความนิ่มนวลอ่อนโยนเข้าไปในใจที่ ว่าง ๆ รู้สึกอย่างไรในใจที่ว่างของเรา ? มีความนิ่มนวลเกิดขึ้นไหม ? รู้สึก อิ่มใจ รู้สึกเบิกบาน รู้สึกผ่องใส ใจรู้สึกอิ่มหรือหดหู่ ? อิ่ม ใช่ไหม ? นั่นแหละ “วิธีการให้อาหารใจ” ต้องอาศัยอะไรไหม ? นี่แหละเขาเรียก “นิรามิสสุข” สุขที่ไม่ต้องอิงอามิส หรือจะเรียก “เนรมิตสุข” เรา “เนรมิต” เอง อยากได้ก็ นึกเอา! อันนี้คือ เรารู้สึกได้ เราเป็นคนกาหนดจิตเราว่าจะเป็นอย่างไร
บางคนก็ เอ๊ะ! เราปรุงแต่งไหม ? เราจะปรุงแต่งเอาหรือเปล่า ? การ ที่เราน้อมถึงความเป็นกุศล ไม่ผิด! และเอากุศลเอาความสุขนั้น มาเป็น “ฐาน” เป็น “กาลัง” ในการสร้างกุศลมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ผิด! ถ้าร่างกายเรา อ่อนแอ แล้วจะทางานหนักได้อย่างไร ? เมื่อใจเราอ่อนแอ เราจะทางานที่ยิ่ง ใหญ่ได้อย่างไร ? เราทาบุญเอาไว้ ถ้าเราไม่น้อมบุญมาใช้ เราจะรอใช้บุญของ เราเมื่อไหร่ ? หลังจากตายไปแล้ว หรือว่าใช้ตอนนี้ ใช้ทุก ๆ ขณะ ? สังเกต ไหมว่า บุญที่เราทา เรายิ่งน้อมระลึกถึงเขาเมื่อไหร่ ใจเรายิ่งเป็นบุญมากขึ้น แล้วยิ่งทาบุญได้มากขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัวหมด! เดี๋ยวนี้เขาใช้คาว่า “ใช้บุญต่อบุญ” ใช่ไหม ? นักธุรกิจก็ใช้เงินต่อเงิน
วิธีเติมใจเราให้เต็ม... ส่วนใหญ่ใจเราจะไม่ค่อยเต็มหรอก ใจเราจะ ขาดจะพร่อง เห็นแล้วก็ห่อเหี่ยว เพราะจิตเราไม่มีกาลัง หมดพลัง การรับรู้ อารมณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เจอกับความวุ่นวายต่าง ๆ มากมาย จิตเรา


































































































   344   345   346   347   348