Page 36 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 36

12
เวลาเราไม่พอใจอะไรสักอย่าง ความไม่ชอบที่เกิดขึ้นเนี่ย กว่าที่จะแสดงออก ทางกาย ทางวาจาได้ ใจเราเสพเข้าไปจนเต็มที่ จนเก็บไว้ไม่อยู่แล้ว สังเกต ไหม เราข่มไม่อยู่แล้ว มันพอง มันดันมาก ๆ จนมันหลุดออกมาทางกาย ทางวาจา ตรงนั้นแหละ..
เพราะฉะนั้น การรักษา การสารวมระวัง ถ้าเรารักษาใจเราได้ ทางกาย ทางวาจา ก็พลอยสงบไปด้วย ทางกาย ทางวาจา ก็พลอยเป็นไปเหมือนใจ เราด้วย ถ้าใจเราว่าง ทางกายจะเป็นอย่างไร ? ถ้าใจเราสงบ กายจะเป็น อย่างไร ? ถ้าใจเราสงบ วาจาเราจะเป็นอย่างไร ? คาพูดที่ออกมาจะเป็น อย่างไร ? ถ้าจิตเราสงบ หรือใจเราสงบ คาพูดออกมาก็จะสงบ เป็นไปด้วย ความสงบ จิตเราสงบ จิตเราเย็น คาพูดออกมาก็ไม่เร่าร้อน จิตเราว่าง คา พูดก็จะน้อยลง จิตเรามีความสุข คาพูดก็จะนิ่มนวล จิตเราอ่อนโยน คาพูด ก็จะถูกกลั่นกรองอย่างดี เพราะฉะนั้น การรักษาจิต ที่เราฝึก ที่เราให้แยกรูป แยกนาม ทาจิตของเราให้ว่าง ลองดูนะ ที่พูดทั้งหมดเป็นอย่างนั้นไหม ?
ลองทาใจให้ว่าง ๆ การมาชาระจิตของเราให้ว่าง เดี๋ยวลองดูว่า ทาใจ ให้ว่าง แยกรูปแยกนาม แยกกายกับใจออกจากกัน เมื่อแยกจากกันแล้ว ดูว่าจิตเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? ถ้าแยกจากกันได้ แล้วก็ดูที่จิตนะ รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกว่าง รู้สึกเบา เห็นจิตกับตัวเป็นคนละส่วนกัน เราก็ดูที่จิต ที่ว่างเบา ทุกครั้งจะเห็นว่าเมื่อไหร่ก็ตาม ที่จิตกับกายแยกจากกัน แล้วจิต รู้สึกว่างเบา จิตของเราก็จะสงบด้วย จิตที่ว่างเบา ตัวก็เบา ไม่ใช่ปากเบานะ แต่ก็มีบางช่วง พอจิตเบามาก ๆ ปากก็เบาด้วย เห็นอะไรก็พูด ๆ ๆ ๆ มี ความสุขในการพูด เขาเรียก “มีความสุขในการพูด” อันนั้นต้องระวังนิดหนึ่ง เบาแล้วเพิ่มความสงบ จะได้มีความสุขในการพูดก็จริง แต่พูดอย่างมีสติ
ทีนี้ลองดู จิตว่างแล้ว เพิ่มความสงบเข้าไปในจิตที่ว่าง จิตที่ว่างเรา จะรู้ชัดได้ เวลาจิตว่าง ใจจะรู้สึกเบา ใจอยู่ตรงไหน ? ที่เราชัดที่สุดก็คือ.. ความเคยชินของคนเราเนี่ย เวลาใจเราไม่ว่าง จะหนักอก ใช่ไหม ? จะหนักอก


































































































   34   35   36   37   38