Page 37 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 37

13
จะแน่นบริเวณหัวใจ แต่ถ้าใจที่ว่าง โล่งไปหมด ไม่หนักอกแล้ว ไม่ต้อง แบกอะไร รู้สึกมันโล่ง มันเบา ตรงนั้นแหละที่ชัดที่สุด รู้สึกได้ เรารู้สึก ได้เร็ว เพราะบริเวณหัวใจของเราก็เป็นที่อาศัยเกิดของจิต จะทุกข์จะสุข จะ รับได้เร็ว จะทุกข์จะสุขก็ตาม จะรู้สึกได้บริเวณหัวใจ บริเวณหน้าอกของเรา สังเกต..
ลองดูสิ ดูจิตที่ว่างเบา แล้วขยายจิตที่ว่างเบาให้กว้าง ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ แล้วพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ดูจิตในจิต ดูจิตที่ว่าง ที่เบา ที่กว้างไม่มีขอบเขต จิตที่ว่าง เบา ไม่มีขอบเขต เขาบอกว่าเป็นเราหรือ เปล่า ? หรือแค่รู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ ? ต้องเห็นนะ ไม่ใช่แค่คิด ต้องเห็น และ รู้สึกทันที เราจะเห็นว่าสภาพจิต หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เราเห็นจริง ๆ รู้สึกได้จริง ๆ ไม่ใช่คิดว่า “น่าจะ” คาว่า “น่าจะ” เมื่อไหร่ ความชัดเจนก็ จะหายไป คาว่า “รู้ชัด” ก็จะหายไป สภาวธรรมที่เกิดขึ้น ต้องมีสติรู้ชัดใน ขณะนั้นเดี๋ยวนั้น ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้จริง ๆ ว่าสภาพจิตเราเป็นอย่างไร
สังเกตต่ออีกนิดหนึ่ง.. ใจที่ว่าง จิตที่เบา เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? ถ้าแค่รู้สึกเบา ๆ ไม่บอกว่าเป็นเรา สังเกตดูนะ จิตที่ไม่บอกว่าเป็นเรา รู้สึก อย่างนี้ดีหรือไม่ดี ? จิตที่ไม่มีเรา สบายไหม ? จิตที่ไม่มีเรา อิสระไหม ? นั่น คือธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตจริง ๆ “ไม่มีเรา” ที่พระพุทธเจ้าบอก ว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”
“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง” ในที่นี้หมายถึง อาการของรูปนาม กายกับ ใจ เพราะอะไร ? เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นรูปกับนามไม่บอกว่าเป็นเรา ใจก็ ไม่ใช่ของเรา ตัวก็ไม่ใช่ของเรา ถ้าพิจารณาดูที่จิต จะเห็นว่าจิตจะรู้สึกว่าง และอิสระ ไม่มีอุปาทาน และจิตที่ว่าง เบา และอิสระนั้นก็ไม่มีอกุศล เกิดขึ้น พิจารณาดูจิตที่ว่าง เบา เขาเรียก “ดูจิตในจิต” ดูเข้าไปอีก ก็จะเห็น แต่จิตที่บริสุทธิ์มากขึ้น สงบมากขึ้น เบามากขึ้น กิเลส หรืออารมณ์ที่เป็น อกุศลที่เรียกว่า “โลภะ โทสะ โมหะ” ก็ไม่เกิด ถ้าสงสัยให้หา เข้าไปดูเลย


































































































   35   36   37   38   39