Page 38 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 38

14
ว่ามีจริงไหม มันหายไปจริงไหม คาว่า “โลภะ โทสะ” เกิดได้ไหมในขณะที่ ไม่มีตัวตน ดูเข้าไปในจิต นั่นคือพิจารณาดูสภาวธรรม หรือดูสภาพจิตที่ ไม่มีอะไร ในความหมายของคาว่า “ความเป็นอนัตตา”
คาว่า “ความเป็นอนัตตา” ตรงนี้แหละ ที่เราเข้าถึงความเป็นอนัตตา ได้ เรารู้ได้ด้วยอะไร ? รู้ได้ด้วยความคิด หรือด้วยการพิจารณา การสังเกต สภาวธรรมที่เกิดขึ้น ? เราเข้าถึงแล้ว เราจะสาคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ขันธ์ ๕ (ขันธ์ ๕ คือกายกับใจ) มีอะไรบ้างที่บอกว่าเป็นของเรา ? มีขันธ์ ๆ ไหนบ้างที่บอกว่าเป็นเรา ? “ไม่มีเลย” ถ้าไม่มี แล้วทาไมเราถึงทุกข์กับขันธ์ ?
ตอนที่เรามีสติกาหนดรู้ เราก็เห็นความจริงที่ว่า “ขันธ์นี้ไม่ใช่ของเรา” เมื่อรู้แล้ว ทาอย่างไรเราถึงจะไม่ทุกข์มากนัก ? รู้แล้ว เห็นแล้ว ก็ให้ “จา” ถ้า เราไม่จา เรากลับมายึดอีก เราก็ทุกข์อีก สังเกตไหม.. เราเห็นความว่างแล้ว แป๊บเดียวมายึดอีกแล้ว ความเคยชินของเรา ความเคยชินที่เราสั่งสมมา หลายภพชาติ เข้าใจว่ารูปนี้เป็นของเรา เข้าใจว่าเวทนาเป็นของเรา เข้าใจว่า สัญญาเป็นเรา เข้าใจว่าสังขารเป็นเรา และเข้าใจผิดว่าแม้แต่ตัว “วิญญาณ” เองก็คือเรา เขาเรียกอะไร ? ความเข้าใจผิด เห็นผิดตรงนี้เรียกว่า... ? “สักกายทิฏฐิ” เห็นว่าเป็นตัวเรา ของเรา เขาเรียกว่า “สักกายทิฏฐิ” ถ้าเรา เห็นผิด “มิจฉาทิฏฐิ”
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อย่างชัดเจนเลยว่า ขันธ์ ๕ ของเรามีรูปกับ นาม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม รูปก็คือรูป ร่างกายก็คือรูป อารมณ์ภายนอกก็คือรูป รูปภายนอกก็คือรูป ย่อลงมาเหลือแต่รูปกับนาม เหลือแต่กายกับใจ แต่เราก็ยังยึด ยังยึดอยู่ จึงทาให้เราทุกข์ มันไม่ใช่ของ ง่ายที่จะละ ไม่ใช่ของง่ายที่จะละ แต่ต้องอาศัยความเพียร ธรรมะ การที่ เราจะละ ละอะไร ? ละกิเลสไม่ใช่ของง่ายหรอก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากสาหรับ บุคคลผู้แสวงหา ผู้ที่จะละ ผู้ที่จะดับความทุกข์จริง ๆ
ลอง.. เรามาละอะไรที่ง่าย ๆ สั้น ๆ ไม่ต้องละหลายอย่าง แล้วกิเลส


































































































   36   37   38   39   40