Page 373 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 373

349
แผ่นดิน ทาใจให้มีความแก่กล้าเหมือนไฟที่เผาไหม้ทุกอย่าง แม้แต่เหล็กกล้า ก็ยังละลาย แม้อารมณ์ที่เข้ามาจะรุนแรงแค่ไหน เราก็มีสติแก่กล้าที่จะดับ อารมณ์นั้นได้ ตรงนี้อยู่ที่ความพอใจที่จะดับทั้งสิ้น เราพอใจที่จะสละอารมณ์ ที่เกิดกับใจเรา ไม่ใช่ไปห้ามสิ่งข้างนอก อารมณ์ภายนอกเป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง เป็นธรรมชาติที่เราเกิดมามีอายตนะ ยังไงก็ต้องรับรู้ ถ้าไม่อยากได้ยินเสียง ก็ไม่ต้องมีหู ถ้าไม่อยากดู ก็ไม่ต้องมีตา... ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง แล้วจะนั่งสบาย ท่านพระพุทธทาสท่านกล่าวไว้
แต่เราทาจิตให้ว่าง ที่บอกว่ารับรู้ทุกอย่างผ่านบรรยากาศของความ รู้สึก นั่นคือการสารวมทั้งกาย วาจา และใจ ได้ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งก็คือว่า สารวมตัวเอง กาย วาจา ใจของเรา อีกส่วนหนึ่งป้องกันอารมณ์ที่จะเกิดทาง ทวารทั้ง ๖ ไม่ให้มาปรุงแต่งจิตเราให้เกิดความเศร้าหมอง หรือเป็นทุกข์เกิด ขึ้น เห็นไหม ได้ ๒ อย่างในขณะเดียวกัน นั่นแหละธรรมะ! ที่บอกว่าสอนไป เยอะแล้ว เอาไปใช้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ ? จริง ๆ แล้วธรรมะมีอยู่ตรงนี้ เหมือน เป็นแก่น แล้วทาไมอาจารย์เน้นไปตรงกลาง เป็นแก่น แล้วขยายปลีกย่อย ออกไป ถ้าขยายก็คือ อานิสงส์ที่เกิดขึ้น ประโยชน์ที่เราจะได้รับ เมื่อทาแล้ว ผลที่จะตามมาเป็นอย่างไร
ถ้าเราไม่พิจารณาในลักษณะนี้ เราจะรู้แต่ว่าจิตสงบ จิตเบา พอมี อารมณ์ขึ้นมาก็ ดี ไม่ดี ดี ไม่ดี... เพราะไม่ได้พิจารณาถึงความเป็นไปปลีก ย่อย ตรงนั้นเราก็จะรู้แค่แคบ ๆ รู้แค่อาการ การพิจารณาสภาวะที่เกิดขึ้น อย่างนี้ ท่านแม่ครูว่า ดูสิว่า ว่างแล้วดียังไง ? สงบแล้วดียังไง ? เมื่อก่อน ถามแค่นี้ ไม่ได้อธิบายแบบนี้หรอก ว่างแล้วดียังไง ? มั่นคงแล้วดียังไง ? ใช้ อะไรได้บ้าง ? ถามแค่นั้นแหละ ดูสิ ความใสใช้อะไรได้บ้าง ? ความใสดียัง ไง ? ไม่มีตัวตนแล้วดียังไง ? พูดถึงแก่นเราก็ถอยมาถึงกระพี้ได้ ถึงสะเก็ด ถึงกิ่ง ถึงใบ... เห็นไหม สภาวธรรมที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ว่างแล้วดียังไง ? สงบแล้วดียังไง ? ใสแล้วดียังไง ? ดี


































































































   371   372   373   374   375