Page 374 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 374

350
สาหรับใคร ? ดีสาหรับตัวเรา ใจเราดีแบบนี้ อารมณ์ภายนอกเป็นอย่างไร ? สติเราดีไหม ? สมาธิเราดีไหม ? เราเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ? ธรรมะ ตรงนี้เอาไปใช้ได้กับทุก ๆ อย่างในชีวิตของเรา จิตที่ว่างเอาไปรับรู้ทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้ คาว่า “ว่าง” ไม่ได้ว่างจากอารมณ์ แต่ว่าง จากตัวตน ว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส ไม่ได้ว่างจากการรับรู้ เมื่อ ก่อนนี้ คิดว่าว่างแล้วต้องไม่คิดอะไรเลย สงบเงียบ... ไม่คิดอะไรเลย จะ พูดได้ยังไง ?
พระอรหันต์สมัยพุทธกาลจะสอนเราได้อย่างไรถ้าไม่คิดอะไร ? เพราะการปรุงแต่ง การพิจารณา การเปรียบเทียบ ก็ต้องคิด อย่างเช่น สภาวะนี้เปรียบเทียบเหมือนสิ่งนี้ เขาเรียก “อุปมาอุปไมย” ให้ผู้ฟังเข้าใจ ได้ชัดขึ้น เหมือนเช่นสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจบ ผู้ฟังก็ชื่นชม กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า เหมือนหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด เหมือน ตามประทีปในที่มืดส่องทางให้เดิน เปรียบเทียบธรรมะของพระพุทธเจ้า อย่างนั้น เมื่อเข้าใจ จิตใจก็จะสว่างขึ้น ถ้าไม่เข้าใจ ก็จะตื้อ ๆ ทื่อ ๆ เดี๋ยวก็ หลับ! พูดธรรมะไป พอตามไม่ทัน ก็จะง่วง เดี๋ยวก็หลับ ลองสังเกตดูสิ แต่ ถ้าไล่สภาวะทัน ฟังแล้วเข้าใจ มีแต่ความเบิกบาน ตื่นตัว นั่นแหละธรรมะที่ เกิดขึ้น นั่นเป็นธรรมชาติของจิตเรา
เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าการปฏิบัติธรรมของเรา อย่าลืมว่าเป็นไปเพื่อ ละ เป็นไปเพื่อสงบ เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อารมณ์ไหนก็ตามที่เข้ามา ถ้า เรามีเจตนาที่จะ “ละ” เป็นหลักนี่ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ ไม่อยากให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ไม่ อยากให้ฝนตก ไม่อยากให้แดดออก ไม่อยากให้เย็น ไม่อยากให้ร้อน พอ ร้อนมาก ๆ ก็อยากให้ฝนตก พอฝนตก เขาก็พาลมมาด้วย ก็ไม่อยากให้มี ลม ถ้าลมไม่พาฝนมา จะมาได้ยังไง ? ถ้าเปรียบเทียบว่าฝนดี มีน้าดี แต่ ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี มันอยู่ที่เหตุปัจจัย เหตุการณ์ในขณะนั้น ๆ อยู่ที่ความ


































































































   372   373   374   375   376