Page 377 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 377

353
เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
เพราะฉะนั้น หลักของการปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ นอก
จากการทาจิตให้ว่าง เราพิจารณาอาการเกิดดับของรูปนาม ทุก ๆ อารมณ์ ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ อิริยาบถหลัก ขณะนั่ง กาหนดอาการเกิดดับของ อะไร ? ขณะเดิน กาหนดอาการเกิดดับของการเดินเป็นยังไง ? ขณะที่นั่ง มีความคิดเกิดขึ้นมา เกิดดับในลักษณะอย่างไร ? เวทนาเกิดขึ้นมา เกิดดับ ในลักษณะอย่างไร ? นั่นคือกาหนดรู้อาการพระไตรลักษณ์ ดูความไม่เที่ยง ดูอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของอารมณ์ที่เกิดขึ้น
การปรุงแต่ง พอรู้ว่าคิดปุ๊บ เขาดับอย่างไร ? กาลัง คิด คิด คิด หาย ไป ดูแล้วเขาดับไป พอดับไป มันไม่เที่ยงอย่างนี้เอง สภาพจิตที่เกิดขึ้นมาดี ยังไง ? ใสแล้วเปลี่ยนยังไง ? สงบ เข้าไปอีก เขาเปลี่ยนอย่างไรอีก ? นั่น คือความไม่เที่ยงของทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น เขาเรียก “อารมณ์ที่เกิดภายใน” ดูจิตในจิต ดูสภาพจิตเอง เพราะฉะน้ัน ถ้าเราเริ่มต้นหมั่นพิจารณารู้ถึงความ ไม่มีตัวตนบ่อย ๆ เนือง ๆ เราก็จะละอะไรที่รู้สึกว่าแบกเอาไว้แล้วหนัก ก็ จะได้ปล่อยลง วางลง อะไรที่เรายึดเอาไว้ แล้วไม่ควรจะยึด ปล่อยไปเถอะ เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่บอกว่า ให้ทาใจเหมือนแผ่นดิน อะไรที่มันเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ปล่อย ให้มันสลายไปกับดินนั่นแหละ ถ้าทาใจเหมือนมหาสมุทร อะไรที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ให้มันซัดออกไปจากใจเรา ให้อารมณ์นั้นเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น ให้ มันอยู่ตรงนั้นแหละ อย่าเอามันกลับไปบ้านด้วย เกิดตรงนั้นก็จบไว้ตรงนั้น เวลาอาจารย์พูดธรรมะมันง่ายนะ พูดแล้วง่ายดี แต่เวลาทาหน้าดาคร่าเครียด ต้องทาให้เป็นเรื่องง่าย ที่จริงแล้วทาไมถึงยาก ? เพราะเราคิดให้มันเป็นเรื่อง ยาก คิดซับซ้อนก็เป็นเรื่องยาก ถ้าเราเห็นตามความเป็นจริง คิดว่ามันง่าย มันก็ง่าย! ก็มันผ่านไปแล้ว ก็จบ!
แต่ทีนี้เราชอบ เมื่อวันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน... ไม่ยอมให้มันผ่านไป


































































































   375   376   377   378   379