Page 393 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 393

369
บางครั้งที่บอกว่า พอจิตว่าง ให้เพิ่มความตื่นตัว ไม่ใช่แค่เพิ่มความ นิ่ง การเพิ่มความตื่นตัวก็เหมือนกับที่เราเพิ่มความสุข ถ้าเพิ่มความสุขได้ เพิ่มความตื่นตัวก็ใช้วิธีเดียวกัน เพียงแต่ไม่ใช่ความสุข แต่เป็นความตื่นตัว ใช้วิธีเดียวกัน แต่จิตคนละดวงกัน คนละดวงตรงไหน ? “ความรู้สึกที่ตื่น ตัว” กับ “ความรู้สึกที่สุข” คนละอย่างกัน! แต่ถ้าเพิ่มความตื่นตัวเข้าไปแล้ว จิตเรารู้สึกมีความสุขมากขึ้น นั่นเป็นผลที่ตามมา บางครั้งมีความสุขมาก ๆ ก็ดื่มด่าอยู่กับความสุข แต่จิตไม่ตื่นตัวก็มี กับบางครั้งรู้สึกตื่นตัว แต่ไม่มี ความสุข มีความใส มีความโปร่ง มีความเบา นั่นคือลักษณะของจิตแต่ละ ดวง สภาพจิตแต่ละขณะ ที่นักปฏิบัติจะต้องสังเกตต้องพิจารณาว่า บัลลังก์ นี้เราปฏิบัติแล้ว อาการเกิดดับเป็นอย่างนี้ สภาพจิตเป็นอย่างไร
และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเริ่มจากที่สภาพจิต ขณะที่สภาพจิตเป็นอย่างนี้ อาการเกิดดับที่เกิดต่อจากนั้นเป็นอย่างไร ? เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน อย่างเช่น ใหม่ ๆ เรากาหนดอาการเกิดดับอยู่ในความสงบ บรรยากาศรอบ ตัวสงบ สภาพจิตเราสงบ ขณะที่สภาพจิตสงบ อาการเกิดดับ เกิดดับแบบ เด็ดขาด หรือเกิดดับแบบมีเศษ ? เกิดดับแบบช้า ๆ หรือว่าเกิดดับเร็ว ? ระหว่างความรู้สึกที่สงบกับความรู้สึกตื่นตัว อาการเกิดดับตรงไหนที่มีความ เด็ดขาดกว่ากัน หรือเร็วกว่ากัน ? ลักษณะอย่างนี้เป็นผลที่ตามมา เป็นสิ่งที่ อาศัยกัน
เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็นอาการเกิดดับเร็ว จิตเราตื่นตัวมากขึ้น ใสขึ้น นั่นก็คือผลที่ตามมา จริง ๆ มันเป็นสภาวะที่ต่อเนื่องกัน แล้วก็จะมี ความแตกต่างกันตรงนี้ว่า แต่ละชุดที่เรากาหนดอาการ พออาการนี้สิ้นสุดลง สภาพจิตเปลี่ยนไปอย่างไร ? สภาพจิตเปลี่ยนมาเป็นมีกาลังมากขึ้น ? ตื่นตัว ขึ้น ? อาการเกิดดับต่อจากนั้นเป็นอย่างไร ? และอาการเกิดดับต่อจากนั้น ต้องรู้ว่าเราไปกาหนดอาการอะไร ? เปลี่ยนไปกาหนดอาการเกิดดับของเสียง หรือเปลี่ยนไปกาหนดอาการเกิดดับของเวทนา ? ตอนที่สงบ อาการเกิดดับ


































































































   391   392   393   394   395