Page 394 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 394

370
ของเวทนาเกิดดับแบบนี้ พอตื่นตัวขึ้นมา อาการเกิดดับของเสียง เกิดดับ ต่างจากที่สงบเมื่อกี้อย่างไร ? นี่คือความต่อเนื่องของอารมณ์
เพราะฉะนั้น การกาหนดสภาวะ การกาหนดอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ต้อง ไปกังวลรายละเอียดอย่างอื่น เดินทางตรงไปเลย จุดที่ต้องสังเกตมี ๒ อย่าง ๑. ลักษณะอาการเกิดดับที่เปลี่ยนไป ๒. สภาพจิตที่ต่างจากเดิม ที่อาจารย์ มักถามว่าอาการเกิดดับ เกิดดับเร็ว เกิดดับช้า เกิดดับอยู่กับที่ หรือเปลี่ยน ตาแหน่ง แวบตรงนั้น แวบตรงนี้ ? แล้วขณะที่เห็นอาการเหล่านี้ สภาพจิต เราเปลี่ยนไปอย่างไร ? อย่างเช่น วันนี้ทั้งวันสภาพจิตรู้สึกว่าสงบ ทาอะไรก็ อยู่ในความสงบหมด อันนี้คือขณะใหญ่ จะเดิน จะนั่ง จะหยิบ จะจับ จะ พูด จะคุย รู้สึกว่าอยู่ในความสงบตลอดเลย อันนี้เขาเรียก “รู้กว้าง” รู้ทุก ๆ อารมณ์ว่าเกิดอยู่ในบรรยากาศแบบไหน
และสิ่งต่อไปก็คือรายละเอียด รายละเอียดของอาการก็คือว่า ขณะ ที่เห็นอาการต่าง ๆ เกิดอยู่ในความสงบ แต่ละอาการที่เกิดในความสงบ เขา เกิดดับแบบเด็ดขาดไหม ? มีเศษหรือไม่มีเศษ ? หรือดับแล้วเงียบหาย ดับ เงียบ ดับเงียบ ? หรือดับวุบหาย วุบหาย ว่างไป ว่างไป ? อันนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า พอทุกอย่างเกิดอยู่ในความสงบ ทุก ๆ อาการที่เกิดอยู่ ในความสงบนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดอย่างเป็นระเบียบหรือสับสน ? เขาแซงกัน แย่งกันเกิดขึ้นมา หรือเขาเกิดทีละอย่าง อารมณ์นี้หมดไปแล้ว อารมณ์ใหม่ ถึงเกิดขึ้นมา อารมณ์นี้หมดไป อารมณ์ใหม่ก็เกิดขึ้นมาต่อ... อันนี้คือเกิด อย่างมีระเบียบ เขาเกิดทีละอารมณ์ ไม่แย่งกันเกิด
คาว่า “แย่งกันเกิด” ก็คือว่า อย่างเช่น เรากาหนดอาการเกิดดับของ เวทนา กาลังมุ่ง ๆ อยู่ เดี๋ยวความคิดแทรกเข้ามา แวบ แวบ... ไปดูความ คิด ความคิดหายไป... เดี๋ยวเสียงดังเข้ามาอีก ยังไม่ได้กาหนดเลย เดี๋ยวก็ มีอาการขึ้นมาแทรกเข้ามาตลอด อันนี้คือเขาแย่งกัน คือหลาย ๆ อารมณ์จะ สลับกันขึ้นมาตลอดเวลา กับที่อาการเกิดดับเป็นชุดสิ้นสุดลง อาการนี้หมด


































































































   392   393   394   395   396