Page 43 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 43

19
คิด ฉันจะสงบ ทาไมความคิดนี้เข้ามา มาไม่หยุดเลย มาแล้วมาอีก มาแล้ว มาอีก สลัดเท่าไหร่ก็ไม่ได้ จนรู้สึกนั่งไม่ไหวแล้ว ราคาญ! ราคาญความคิด ทั้ง ๆ ที่ความคิดบางอย่างไม่ใช่เรื่องทุกข์เลย เขาไม่ได้มาทุกข์ เขาแค่ปรากฏ ให้เห็นตามธรรมชาติของขันธ์ ธรรมชาติของขันธ์ ๆ หนึ่ง สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เกิดขึ้นมาให้เราพิจารณา กาหนดรู้ และเข้าใจถึงธรรมชาติ ของเขา แต่ที่ทาให้เราทุกข์เพราะอะไร ? เพราะเราปฏิเสธ เขาเรียกว่า “อยากให้มันหายไป ไม่อยากให้มันเกิดขึ้น” เป็นตัวอะไร ? “กิเลส” ที่เขา เรียกตัว “ตัณหา”
ภวตัณหา วิภวตัณหา อยากให้เกิด พอไม่เกิดก็ทุกข์ พอเกิดแล้ว อยากให้มันไป ไม่ไปดั่งใจก็ทุกข์ อันไหนที่ไม่อยากให้เกิด พอเกิด เราก็ทุกข์ อีก ทั้ง ๆ ที่บางอย่าง อยากยังไงเขาก็ไม่เกิด ใช่ไหม ? แต่บางอย่างไม่อยาก ให้เกิด อยู่ ๆ เขาก็เกิดขึ้นมา แต่ก็รับไม่ได้ ตรงนี้เขาเรียกว่า “ทุกอย่างเป็น ไปตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เป็นไปตามความอยาก” ฉะนั้น หน้าที่เราคือ ต้องมี สติกาหนดรู้ตามความเป็นจริง แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทาได้คือ ถ้าไม่อยาก ทุกข์ แต่ไม่ใช่ว่าไม่อยากให้เขาเกิดนะ ถ้าไม่อยากทุกข์ พระพุทธเจ้าก็สอน บอกวิธี ต้องเจริญสติ ถ้าไม่อยากทุกข์ ทายังไง ? ไม่อยากทุกข์ แต่มีตา “เห็น” หูดี “ได้ยิน” มีร่างกาย ทาให้ “เจ็บปวด” ไม่อยากทุกข์จะทาอย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่เรามีอุปาทานเข้าไปในขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น เราก็อย่ามีอุปาทานกับขันธ์ทั้ง ๕ สิ ดับความรู้สึกว่า เป็นเรา แยกมันออก แยกเป็นขันธ์ ๆ ๆ นะ.. แยกเป็นขันธ์ ๆ “ใส่ขัน” ขันธ์นี้ ก็อยู่ตรงนี้ ขันธ์นี้ก็ตั้งไว้ตรงนี้แหละ ใช่ไหม ? หรือไม่ก็ “คว่าขัน” เสีย จะได้ ไม่ทุกข์ การที่เราแยกรูปนามนั่นแหละ คือการคลายอุปาทาน เห็นไหม ? พอแยกรูปนามได้ เห็นกายกับใจแยกเป็นคนละส่วนกัน เราก็ไม่ทุกข์กับ ร่างกาย ถึงแม้ร่างกายนั้นจะมีเวทนา แต่จิตเราไม่เศร้าหมอง ถึงแม้จะปวด แต่พอแยกออกจากกัน แล้วดูความปวด จิตกลับรู้สึกผ่องใส จิตตั้งมั่น


































































































   41   42   43   44   45