Page 435 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 435

411
ความรู้สึกของเรา ในจิตของเรา มันเต็มไปด้วยอะไรก็ไม่รู้ แล้วเราก็พยายาม เอาอย่างอื่นเติมเข้าไป มันก็เลยไม่ชัด แต่ถ้าเรานิ่งปุ๊บ เห็นชัดว่าสภาพจิตเป็น อย่างไร มันก็จะง่ายขึ้น จะเปลี่ยน เพราะฉะนั้น สาคัญ!
การยกจิตของเราก็เหมือนกัน อันนี้เกี่ยวเนื่องกันนะ แค่เราเริ่มจาก ดูบรรยากาศรองรับ เพราะอะไร ? บรรยากาศเป็นลักษณะของสภาพจิต ของเรา เราเปลี่ยนจิตเรา เปลี่ยนเป็นความนิ่มนวล เป็นความอ่อนโยน เป็น ความสุข ถามว่า บรรยากาศที่รองรับอารมณ์จะใช้ตอนไหน ? ใช้ได้ทั้งวัน ไม่ ต้องห่วง! ตอนนั่งสมาธิ จะใช้บรรยากาศไหน จะได้นั่งแบบสบายไม่วุ่นวาย ? ตอนเดินจะใช้บรรยากาศแบบไหน จิตเราถึงจะมีสติอยู่กับปัจจุบัน ? เวลา ทางานอิริยาบถย่อย ใช้บรรยากาศแบบไหน เราถึงจะคล่องแคล่วว่องไว ให้ เป็นปัจจุบัน ไม่ต้องค่อย ๆ อืด ๆ ช้า ๆ ? คือมีบรรยากาศรองรับให้เป็น ปกติธรรมชาติของเรา
ที่พูดเมื่อคืนว่า ถ้าบรรยากาศที่รองรับกับความรู้สึกเป็นอันเดียวกัน บรรยากาศตรงนนั้ จะกลายเปน็ “ตวั สต”ิ แตถ่ า้ มผี ดู้ บู รรยากาศอยู่ บรรยากาศ ตรงนั้นจะเป็น “พลังของสมาธิ” เรา แต่ก็ยังมีสติดีอยู่นะ เพียงแต่อาการ อาจจะไม่คล่องตัวเท่ากับบรรยากาศนั้นกับจิตเราเป็นตัวเดียวกัน มันจะ คล่องตัว หันไปไหนมันก็จะกว้าง อิสระไปหมด เพราะความรู้สึกที่ว่าง เบา สว่าง เป็นตัวรับรู้ เรามองอะไรมันก็คือรัศมีสายตาของเรา กว้างกว่าสายตา ด้วยซ้า ความรู้สึกเรารู้ได้รอบด้าน เพราะฉะนั้น จะคล่องแคล่วแล้วก็ทางาน อิริยาบถย่อยได้สบาย ๆ เพียงแต่ว่าเรามีเจตนาที่จะเจาะสภาวะในอิริยาบถ ย่อย...
การเจาะสภาวะ หมายถึง เราต้องมีอารมณ์เดียว อารมณ์ใดอารมณ์ หนึ่ง ที่มีความต่อเนื่องกัน ถึงแม้จะเปลี่ยน อารมณ์เดียวอย่างนี้ไม่ใช่ อารมณ์เดียวตลอดเวลา อย่างเช่น ขณะที่เดินสิบก้าว นั่นคืออารมณ์เดียว ตรงนี้ รู้อาการเดินเป็นหลัก หลังจากสิบก้าวแล้ว เราไปขยับมือทาอะไร พอ


































































































   433   434   435   436   437