Page 437 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 437

413
ต่อไป... อันนี้สภาวะไม่ต่อเนื่องแล้ว เพราะเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับไม่ต่อ เนื่อง แต่ถ้ามีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับต่อเนื่อง พอคล้อยตามปุ๊บ พอรู้ปุ๊บ เขาดับ! พอเริ่มไหลไป รู้แล้วดับ! นั่นคือสภาวะ ก็คือต่อเนื่องจากก่อน หน้านี้ เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่าสังเกตอาการเกิดดับต่อจากนี้เป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าต่อจากนี้ให้เป็นอย่างนี้ ดูการเปลี่ยนไป ตรงนี้เขาเรียก อาการพระ ไตรลักษณ์ หรือความไม่เที่ยงของอารมณ์ของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ที่เรียก ว่าเป็น “สภาวญาณ” หรือปัญญาที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของเขาว่าเปลี่ยน ไปในลักษณะอย่างไร
แล้วอีกอย่างหนึ่ง เป็นตัวสาคัญที่ทาให้เรารู้ว่าการปฏิบัติของเรา เป็นอย่างไร ก็คือความมีตัวตนหรือไม่มีตัวตน ขณะที่มีบรรยากาศรองรับ เรารับรู้อารมณ์ต่าง ๆ นี่ รู้สึกว่ามีตัวตนมีเราเป็นผู้รับรู้ หรือมีแต่ความรู้สึก ทาหน้าที่รับรู้ ? พอมีอารมณ์เข้ามากระทบ หรือบางครั้งไม่เกี่ยวกับมีอารมณ์ อื่นเข้ามากระทบ ที่รู้สึกขุ่น ๆ ขึ้นมา มัว ๆ สลัว แล้วก็เห็นอะไรแล้วรู้สึก มันขัด ๆ ตา ต้องดูว่าสภาพจิตเราเป็นอย่างไร มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน ? ตรงนี้จะทาให้เรารู้ว่า ที่เราทา ที่เราเห็น หรือที่ความรู้สึกเราเกิดอย่างนั้น เพราะมีตัวตนมีกิเลสเกิดขึ้นหรือเปล่า หรือเกิดเพราะปัญญาเห็นถึงอารมณ์ เหล่านั้นว่าเป็นอย่างไร เห็นความไม่เที่ยง เห็นโทษของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ?
การเห็นโทษ เห็นความไม่เที่ยงของอารมณ์ ความเบื่อที่ประกอบ ด้วยปัญญา ไม่ได้เบื่อคนอื่น ต้องเข้าใจนะ ไม่ได้เบื่อคนอื่น แต่เบื่อรูปนาม เบื่อการเวียนว่ายตายเกิด เบื่อการเกิดดับเปลี่ยนแปลง ตรงนั้นแหละ! เบื่อ ไม่มีเรา ไม่ได้เบื่อเพราะเขาไม่ดี ไม่ได้เบื่อเพราะสิ่งนั้นไม่ดี แต่เบื่อเพราะ ว่ารูปนามการเวียนว่ายตายเกิดน่าเบื่อ และเป็นความเบื่อที่อยู่ภายใน คือ เกิดในความสงบ ไม่ใช่เบื่อแล้วไปโทษคนนั้นโทษคนนี้ อันนั้นเบื่อที่เกิดจาก กิเลส เป็นเอาง่าย ๆ ถ้าไม่พิจารณา ถ้าไม่พิจารณา เราก็จะรู้สึกว่าเพราะ อย่างนั้น เพราะอย่างนี้... ถึงบอกว่าให้ย้อนกลับมาดูจิตเรา ทุกครั้งให้ย้อน


































































































   435   436   437   438   439