Page 436 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 436

412
เคลื่อนไหวปุ๊บ รู้ชัดที่อาการขยับมือ ไม่ใช่เดี๋ยวไปรู้ขยับมือ เดี๋ยวไปรู้ ความ คิด เดี๋ยวไปรู้เห็นตรงนั้น วิ่งไปวิ่งมา ไม่เรียกว่าเจาะสภาวะ เป็นเพียง “ผู้ดู” อาการที่เกิดขึ้น แต่ถ้ามุ่ง พอนิ่งปุ๊บ มันจะเหลืออารมณ์เดียว ตรงนี้จะดี!
แต่ถ้ารู้แวบตรงนั้นแวบตรงนี้ผิดไหม ? ไม่ผิด ถามว่า ดีไหม ? ก็ดี เพียงแต่ความต่อเนื่องของอารมณ์ให้เราสังเกต ถ้ามันแวบตรงนั้นนิดหนึ่ง แวบตรงนี้นิดหนึ่ง จุดที่ต้องสังเกตก็คือ แวบตรงนี้ดับอย่างไร แวบตรงนี้ ดับอย่างไร แวบตรงนี้ดับอย่างไร... ก็จะกลายเป็นอารมณ์ที่ต่อเนื่องกันได้ แต่ถ้าเราวิ่งไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่สังเกตถึงความแตกต่าง ถึงลักษณะการเกิด และการดับของเขา ตรงนี้สติเราก็จะกาลังอ่อนไปนิดหนึ่ง แต่ถ้ามีเจตนาที่ จะรู้ แวบแล้วดับอย่างนี้ แวบตรงนี้ดับอย่างนี้ แวบตรงนี้ดับอย่างนี้... จิตจะ มีกาลัง ตรงนี้ต้องมีเจตนา ไม่ใช่แค่รู้ว่า รู้ทันแล้ว เขาแวบตรงนั้น แวบ ตรงนี้ เต็มไปหมดเลย สนุกจัง!
ถามว่า สนุกแล้วดีไหม ? ดี! แต่อยากให้ดียิ่งขึ้น พอสนุกแล้ว เน้นเข้าไปอีกว่า เขาเกิดอย่างไร ดับอย่างไร ตรงนั้นแหละสภาวะก็จะต่อ เนื่องไปเรื่อย พอเราหยุด มานั่งสมาธิปุ๊บ บรรยากาศตรงนี้ยังตามมาอยู่ บรรยากาศที่เราเจริญสติในอิริยาบถย่อยยังมี หมายถึงว่ากาลังของสมาธิสติ เรายังมี พอมานั่งปุ๊บก็สานต่อสภาวะที่เกิดขึ้นได้ ทีนี้ คาว่า “สานต่อสภาวะ ที่เกิดขึ้น” ไม่ใช่ว่าพอนั่งปุ๊บ เดี๋ยวแวบตรงนั้น แวบตรงนี้ แวบตรงนี้นะ ก็ อาจจะเริ่มจากลมหายใจก็ได้ เปลี่ยนมาเป็นค่อย ๆ เกิดทีละอย่าง ช้า ๆ แต่ นั่นคือความต่อเนื่องของอารมณ์ หรือความต่อเนื่องของสติของเรา คือความ ต่อเนื่องของสภาวะ แต่เปลี่ยนจากแวบ ๆ เป็นเกิดดับแบบช้า ๆ หรือเบา ๆ นั่นคือเห็นอาการเกิดดับอย่างต่อเนื่องกัน
แต่ถ้าเห็นอาการเกิดดับในอิริยาบถย่อยได้แวบ ๆ เร็ว พอมานั่งปุ๊บ ฟุ้งซ่าน คล้อยตามอารมณ์ไปเรื่อย ๆ ไม่เห็นอาการเกิดดับ หรือไม่มีเจตนา รู้อาการเกิดดับของอารมณ์ที่เกิดขึ้น คล้อยตามความคิดไปเรื่อย ๆ เรื่องราว


































































































   434   435   436   437   438