Page 443 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 443

419
จิตที่สงบ รู้ว่าสงบแล้วดีอย่างนี้ ว่างแล้วดีอย่างนี้ เบาแล้วดีอย่างนี้ เราจะใช้ จิตประเภทไหนในการรับรู้อารมณ์ ?
เรากวาดบ้านของเราสะอาด ทาจิตของเราให้ว่าง โล่ง สะอาด บ้าน ของเราสะอาด สักพัก เราเห็นอะไรสวยงาม เราก็อยากได้ เราก็ขน ๆ เข้า มาในบ้านอีก ก็รกอีก! พอรกแล้วจะทาอย่างไรมันจะออกไป ? เราก็ลืมวิธี ที่จะขนมันออกจากบ้านไป ได้แต่ โอ! ทายังไง เต็มแล้ว ? ขยายบ้านแล้วก็ เอามาเติม บ้านยิ่งใหญ่ของยิ่งเยอะ ใช่ไหม ? พอเยอะแล้วดูไม่ทัน ที่ตาม มาก็คือฝุ่น มันแน่นเต็มไปหมด ขนาดบ้านใหญ่แล้วยังไม่มีทางเดินเลย ไม่มีเวลาได้ดู
เพราะฉะนั้น วิธีก็คือ พอเกิดขึ้นมา ตอนที่เราเข้าไปรู้แล้วเขาดับ พอ เข้ามาแล้วดับ เข้ามาแล้วดับ... เราก็จะว่าง ยังสะอาดอยู่ ฝุ่นเกิดขึ้นก็กวาด ยิ่งถ้าเราให้เขาดับอยู่นอกบรรยากาศ เหมือนกับพ่อค้าเดินผ่านหน้าบ้าน เรา ก็ อ๋อ! เห็นแล้ว ไปเหอะ! มีบรรยากาศ อารมณ์ที่เกิดอยู่นอกบรรยากาศ ของเราจะไม่เข้ามายุ่งบ้านเราเลย เกิดแล้วก็ดับ เราก็จะอยู่สบายในบ้านของ เรา เพราะฉะนั้น ปฏิบัติสังเกตแบบนี้
ทาไมอาจารย์ถึงให้ดูสภาพจิตด้วย ? รู้อาการเกิดดับ แล้วดูสภาพจิต ด้วยว่าเปลี่ยนอย่างไร ? เราจะได้รู้ชัด ๆ ว่าสภาพจิตเราเป็นไปอย่างไร ถึง แม้อาการเกิดดับจะชัดหรือไม่ชัดก็ตาม มันจะว่าง ๆ เฉย ๆ ก็รู้ชัดว่าเฉย เบาก็รู้ชัดว่าเบา เราจะใช้ประโยชน์ได้ ถ้ารู้สึกว่านั่งแล้วว่าง ๆ ถ้าเรารู้ถึง ความดีของความว่างเมื่อไหร่ จิตเราจะมีกาลัง แต่ถ้าเราว่าง ๆ แล้วรู้สึกเฉย ๆ ไม่เห็นความดีของความว่าง จิตเราจะอ่อนกาลัง สติจะอ่อน แล้วก็จะหลับ แล้วก็จะรู้สึกเซ็ง ๆ
แต่รู้สึกว่าว่างตรงนี้สงบ รู้สึกดีนะ มันดีตรงไหน ? เราจะรู้ว่าดีได้ อย่างไร ? เราจะรู้ว่าดีได้ก็ต่อเมื่อเราเห็นว่าจิตที่ว่างนั้นป้องกันอารมณ์ที่ เข้ามากระทบ เพราะไม่มีใครว่างแล้วไม่มีอารมณ์ให้รับรู้ เว้นอยู่อย่างเดียว


































































































   441   442   443   444   445