Page 447 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 447

423
ดู ให้ความรู้สึกที่เบา กว้างเท่าห้องนี้ได้ไหม ? ลองสังเกตดูนะ ถ้าให้ความ รู้สึกที่เบากว้างเท่าห้องนี้แล้ว รู้สึกอย่างไร ? โล่งขึ้น เบาขึ้น หรือว่าเฉย ๆ ? โล่งขึ้นนะ ลองทาตามเลยนะ ทันไม่ทันไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล ฟังไปก่อน สบาย ๆ ใครไม่ทันก็ลองทาดู
ขณะที่ความรู้สึกโล่งเบา ลองสังเกตว่า ความรู้สึกที่โล่ง ๆ เบา ๆ สามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ไหม ? ได้นะ ลองดู ย้ายความรู้สึกที่โล่ง ๆ เบา ๆ ไปที่สมอง บริเวณสมองเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? โล่ง ๆ ถูกนะ ลองสังเกตดู ให้ความรู้สึกที่โล่ง ๆ เบา ๆ มาบริเวณหัวใจเรา จากคอถึงลิ้นปี่ รู้สึกเป็น อย่างไร ? รู้สึกเบา สังเกตแค่นี้เอง ง่าย ๆ ไม่ต้องไปหา ถ้าเราย้ายจิตที่เบา ไปไว้ตรงไหน บริเวณนั้นรู้สึกอย่างไร ? เขาเบาไปด้วยหรือเปล่า ? เขาว่าง ไปหรือเปล่า ? จิตที่เบาก็คือตัวสติ เราย้ายจิตตรงนี้ได้ เวลาเรากาหนด พองยุบ เราก็เอาจิตที่เบาว่างไปที่พองยุบ แล้วสังเกตอาการพองยุบ เวลา เขาพองออก เขามีลักษณะอย่างไร ? เป็นคลื่น เป็นเส้น หรือมีอาการ สะดุด ๆ ? สังเกตตรงนั้น
ลองต่ออีกนิดหนึ่ง ลองให้จิตที่โล่งเบา กว้างออกไปไม่มีขอบเขต รู้สึกเป็นอย่างไร ? โล่งนะ สังเกตดูอีกนิดหนึ่ง ขณะที่จิตโล่งเบาไม่มีขอบเขต รอบ ๆ ตัวรู้สึกหนักหรือเบา ? ไม่มีคาตอบไหนผิดนะ ให้เรารู้ชัดว่า เป็นอย่างไร ที่อาจารย์บอกว่าไม่มีคาตอบไหนผิด นั่นคือเป็นสภาวะที่เขา เกิด ถ้าเราบอกว่าต้องอย่างนี้อย่างเดียวแล้วถึงถูก บางครั้งทาให้มีตัวตน พอมีตัวตนปุ๊บเราก็พยายามบังคับ พอยิ่งพยายามบังคับก็ยิ่งทาไม่ได้ เพราะ ฉะนั้น วิธีก็คือว่ารู้สึกอย่างไรให้รู้ชัดอย่างนั้น รู้สึกหนักก็คือหนัก รู้สึกเบาก็ เบา รู้สึกโล่งก็โล่ง รู้สึกสงบก็สงบ เราจะได้กาหนดต่อถูกว่า เวลาใจเราหนัก ให้ความรู้สึกดีไม่ดี ? ตัวหนัก รู้สึกดีไม่ดี ? แล้วถ้าเราจะแก้ แก้ได้ไหม ? ถ้าไม่ดีแล้วเราจะแก้อย่างไร ? ก็จะง่ายขึ้น
ทีนี้ต่อนะ ต่อสภาวะของแต่ละคนนั่นแหละ เมื่อกี้ได้ยินว่าส่วนใหญ่


































































































   445   446   447   448   449