Page 450 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 450

426
ตัวที่ทาหน้าที่หาอารมณ์นั่นแหละคือตัวสภาวะเอง
ตวั ทที่ า หนา้ ทหี่ าอารมณ์ กค็ อื ตวั ความรสู้ กึ ทที่ า หนา้ ที่ หรอื คดิ อยา่ งนนั้
คิดอย่างนี้ นั่นน่ะตัวเขาเองก็เป็นอารมณ์ เราไปดูตัวที่ทาหน้าที่หาอารมณ์เอง หาแล้วเขาดับอย่างไร ? รู้แล้วเขาก็ดับอย่างไร ? หรือความคิดที่มาแบบ บาง ๆ จาง ๆ ถ้าสังเกตดี ๆ เราจะรู้สึกเลยว่า ขณะที่เราว่าง ไม่ได้ว่างสนิท จะมีความคิดเข้ามาแบบบาง ๆ เลือน ๆ โดยที่เรามองข้าม ถ้าเมื่อไหร่มีความ คิดเข้ามาแบบบาง ๆ ให้มีสติกาหนดรู้ความคิดที่บาง ๆ จาง ๆ นั่นแหละ รู้แล้วเขาดับในลักษณะอย่างไร ? พอดับแล้วเกิดต่อไหม ? เกิดมาอีกทีดับ อย่างไร ? อันนี้อย่างหนึ่ง เวลาพองยุบหายไปอาจจะมีความคิดปรากฏขึ้นมา
และอีกอย่างหนึ่ง อาจจะมีเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นมา เสียง พัดลม เสียงนาฬิกา เวลาเรานั่งนิ่งแล้วเงียบสนิท พองยุบหายไปหมด เหลือ แต่เสียงนาฬิกาอย่างเดียว เสียงเข็มนาฬิกาที่ดังแก็ก ๆ ๆ บางครั้งเรารู้สึกว่า เป็นอารมณ์ภายนอกแล้วไม่ตามกาหนดรู้ แล้วพยายามจะหาอาการภายใน หรืออาการพองยุบ พอหาไปหามาเราก็หลับ! เพราะไม่มีสภาวะให้กาหนด แต่ถ้าได้ยินเสียงขณะนั้น ให้เอาเสียงนั่นแหละมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เสียงนาฬิกาก็เป็นเสียงนาฬิกา รู้ไป! เสียงพัดลมที่ดังอื๊อ ๆ ๆ เราก็นิ่งแล้ว ก็สังเกตอาการของเสียงพัดลมนั่นแหละ ว่ามีการเปลี่ยนแปลง ในนั้นเขา เกิดดับอย่างไร ? อันนี้อย่างหนึ่ง
และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเย็นความร้อนที่เข้ามากระทบกายเรา ความเย็นเกิดจากพัดลม เกิดจากความเย็นของแอร์ พองยุบหายไป รู้สึก ว่าง ๆ แต่รู้สึกว่ามีความเย็นมากระทบกับรูปเราเป็นระยะ ๆ สังเกตตรงนั้น ความเย็นเข้ามากระทบแล้วเขาหายอย่างไร ? ดับอย่างไร ? เขาจางหายไป เลือนหายไป กระทบแล้วจางหาย กระทบแล้วจางหาย... หรือ กระทบแล้ว กระจายไป แล้วก็หายไป ? นั่นคือจุดที่ต้องสังเกต เราสังเกตได้หมด พิจารณาได้หมด เอาทุก ๆ อารมณ์มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เมื่อเรามีเจตนา


































































































   448   449   450   451   452