Page 451 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 451

427
ที่จะรู้ในลักษณะอย่างนี้นี่ จะมีสภาวะหรืออารมณ์ให้เรากาหนดได้ต่อเนื่อง ทาให้การเจริญสติของเราก็ต่อเนื่องไป อันนี้อย่างหนึ่ง
เวลาเราเจริญกรรมฐาน เวลาเรานั่งกรรมฐานนี่ ถ้าลมหายใจหายไป หรือพองยุบหายไป อย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเกิดขึ้นมา แต่เราต้องรู้ชัดว่าเมื่อพองยุบหายไปแล้ว สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร ? รู้สึก อย่างไร ? เขาว่างสนิทไหม ? หรือเรากังวล ? ถ้ามีความกังวลเกิดขึ้น กังวล ว่าไม่รู้จะทาอย่างไรต่อ ตัวความกังวลเองนั่นแหละเป็นสิ่งที่เราต้องกาหนดรู้ ดับความกังวล หรือเอาสติเราเข้าไปรู้ความกังวล รู้แล้วเขาดับอย่างไร ? เพราะธรรมชาติของจิตเรา ถ้ากังวลเมื่อไหร่ พอดับไปหายไปแล้ว เขาเกิด ใหม่... ถ้าเรายังไม่สรุปก็จะปรากฏใหม่อยู่เรื่อย ๆ ถ้ากาหนดได้ทัน สติเรา ก็จะมีกาลังมากขึ้น
เมื่อจิตเราตื่นตัวมากขึ้น อาการเกิดดับของอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะปรากฏขึ้นมาเอง ถ้าพองยุบหายไป มีเวทนาเกิดขึ้น คิดว่าไม่มีปัญหา สาหรับพวกเรา เพราะรู้ว่าต้องกาหนด มีเวทนาขึ้นมาเมื่อไหร่โชคดีแล้ว มีอารมณ์ให้กาหนดต่อ รู้ว่าเวทนาเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างไร ? นั่นคือวิธีตามกาหนดรู้อาการ อย่างเวทนาปรากฏ ขึ้นมา สิ่งที่ต้องสังเกต เวทนากับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละ ส่วนกัน ? เวทนาที่เกิดขึ้นเขามีลักษณะอย่างไร ? เป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นจุด หรือเป็นเส้น หรือเป็นเกลียว หรือเป็นแท่ง ? และเวทนาที่เกิดขึ้นนั้นเขาเกิด อยู่ที่ไหน ? เกิดที่หัวเข่า เกิดที่หลัง เกิดที่ไหล่ หรือเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ? อัน นี้ต้องสังเกตนะ
สังเกตดูว่า เวทนากับจิตเรา เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ? เมื่อไหร่ที่เห็นเป็นคนละส่วน อุปาทานก็ถูกตัดไป เหลือแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ กับเวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อมีเหลือแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาที่เกิดขึ้น ต่อไป ก็ตามรู้เวทนา เขาเรียก “เวทนานุปัสสนา” ตามรู้อาการของเวทนาว่ามีการ


































































































   449   450   451   452   453