Page 453 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 453

429
สมาธินา พอมีเวทนาเข้ามา ก็ทาให้สติเราเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น สังเกตดี ๆ ถ้าสังเกตเราจะเห็นว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเวทนาเกิดขึ้น จิตเราจะไม่เฉื่อย ไม่ ง่วง ตรงนั้นแหละเป็นตัวบอกว่าสติเรามีกาลังขึ้น
และถ้าเรา “พอใจ” ที่จะรู้ถึงอาการเกิดดับของเวทนา ยิ่งเห็นว่าเวทนา กับจิตแยกส่วนกัน จะทาให้จิตเราผ่องใสขึ้น เพราะฉะนั้น เวทนาไม่ใช่ปัญหา ไม่ใช่อุปสรรคสาหรับการปฏิบัติ แต่เวทนาเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่ เกิดขึ้นมา เมื่อเรามีเจตนา มีสติกาหนดรู้ ก็ทาให้เราขัดเกลาจิตใจของเราให้ ใสขึ้น ให้ตื่นขึ้น สติมีกาลังมากขึ้น สมาธิมีกาลังมากขึ้น ตรงที่มีสมาธิดีขึ้น ก็คือจิตเราตั้งมั่นขึ้น และสิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ “ตัวขันติ” ตัวขันติคือความ อดทนสู้กับเวทนา และเป็นการสู้ด้วยปัญญา
ตรงไหนที่เรียกว่า “สู้ด้วยปัญญา” ? สู้ด้วยปัญญาก็คือ ด้วยการ พิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ ไม่ใช่สู้ด้วยกาลังอยากให้เขาดับ... เวทนา เกิดขึ้นต้องดับ ต้องสู้ ต้องเอาให้ชนะ ถ้าเอาชนะเวทนาเราจะใช้กาลัง แต่ถ้า สู้ด้วยปัญญา พิจารณารู้ถึงความไม่เที่ยงของเวทนา ว่ามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับอย่างไร ? มีอาการหมุน มีอาการกระเพื่อม มีอาการไหว ๆ มีอาการเป็น จุดแปลบ ๆ ๆ หรือมีอาการกระจาย หรือบาง จาง จาง... แล้วชัดขึ้นมา ใหม่ ? พอเริ่มบางเบาลง แล้วก็ชัดขึ้นมาอีก นั่นก็คือความไม่เที่ยงของเวทนา
เราเห็นความไม่เที่ยงของเวทนานี่ เขาบอกอะไรกับเรา ? เห็นเวทนา กับจิตเป็นคนละส่วนกันแล้ว เขาบอกอะไรกับเรา ? เราบังคับให้เขาหายไม่ ได้ เขาบอกอะไรกับเรา ? นั่นคือลักษณะของความเป็นอนัตตา บังคับบัญชา ไม่ได้ เหตุปัจจัยเขาเป็นอย่างนี้เขาเป็นแบบนี้ พยายามให้เขาอยู่เหมือนเดิม ก็ไม่ได้ ให้หายทันทีก็ไม่ได้อีก เป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น หน้าที่ของ เราคือ เข้าไปรู้ว่าเขามีการเกิดดับในลักษณะอย่างไร หรือมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร


































































































   451   452   453   454   455