Page 452 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 452

428
เปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร สมมติ ถ้าเวทนาเกิดเป็นกลุ่ม ก้อน เป็นแท่งขึ้นมา เราก็สังเกตดูว่า ในกลุ่มก้อน ในแท่งของเวทนา มีจุด ใดบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเขานิ่ง ๆ อยู่ หรือว่ารอบ ๆ เวทนามีอาการ ขยับ มีอาการกระเพื่อม มีอาการไหว ๆ หรือเป็นคลื่น ? นั่นคือการสังเกต อาการเกิดดับของเวทนา
หรือว่าในเวทนานั้นมีความแก่กล้ามากขึ้น ปวดมากขึ้น มากขึ้น มาก ขึ้น... ปวดมากขึ้นก็คือแสดงความไม่เที่ยงของเขานั่นเอง แต่ไม่ใช่ไปบังคับ ให้เขาอย่าปวดหรือหายปวด ปวดมากขึ้นแล้วเปลี่ยนอย่างไร ? เพราะการ กาหนดรู้แบบนี้ ไม่มีตัวเราแล้วนี่ ให้รู้เวทนาที่กาลังเป็นอยู่ว่าเขาเกิดดับใน ลักษณะอย่างไร ? หรือขณะที่เวทนาตั้งอยู่ แต่ตรงกลางเวทนาเขามีจุด เล็ก ๆ มีอาการกระพริบเบา ๆ แต่รอบ ๆ นี่ปวดมาก แต่ตรงกลางเวทนา เขามอี าการขยบั นดิ หนงึ่ นดิ หนงึ่ ... ใหไ้ ปสงั เกตอาการเปลยี่ นแปลงหรอื อาการ เกิดดับตรงนั้น ไม่ต้องไปกังวลเรื่องความปวด...
ให้มี “เจตนา” ที่รู้ถึงอาการที่เปลี่ยนแปลงนิดหนึ่ง นิดหนึ่ง... ไป เรื่อย ๆ ตรงนี้ตามรู้อาการเกิดดับของเวทนา ตามรู้อาการพระไตรลักษณ์ที่ ปรากฏในเวทนา ไม่ใช่ไปทาให้เวทนาหาย แต่รู้อาการเกิดดับของเวทนาหรือ รู้อาการเปลี่ยนแปลงของเวทนา เมื่อเรามีเจตนาที่จะรู้อย่างนี้ เวลากาหนด เวทนา จิตเราจะไม่มีอกุศล ไม่มีการปรุงแต่งเข้าไปเกี่ยวข้อง จิตจะเป็น กลาง จิตจะตั้งมั่น และขณะที่กาหนดรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเวทนา จิตก็ จะมีความตื่นตัว เมื่อไหร่ก็ตามที่เวทนาแก่กล้ามากขึ้น จิตเราก็จะตื่นตัว มากขึ้น
“จิตที่ตื่นตัว” นั้น หมายถึงอะไร ? จิตที่ตื่นตัวมากขึ้น หมายถึง ว่าสติเรามีกาลังมากขึ้น เรารู้สึกว่าเราไม่มีสมาธิหรือเวทนาเป็นตัวรบกวน บางคนเกิดอาการหงุดหงิดหรือไม่ชอบ รู้สึกทาให้ไม่สงบ ที่จริงแล้วเวทนา ทาให้จิตเราตื่นตัว ทาให้สติเรามีกาลังมากขึ้น หลังจากที่เรารู้สึกสงบหรือมี


































































































   450   451   452   453   454