Page 456 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 456

432
เดี๋ยวต่อไปอาจารย์จะไม่บรรยาย ให้เรานั่งดูสภาวะของเราที่อยู่ เฉพาะหน้านี้ อาการเป็นอย่างไรก็ให้ตามรู้ไป จนกว่าจะเห็นสมควรแก่เวลา จากนั้นให้เราได้ถาม ได้สนทนากันอีกนิดหนึ่งว่า ปฏิบัติพอเจออาการแบบ นี้แล้วทาอย่างไร หรือถ้าสงสัยที่อาจารย์พูดมาก็ให้โอกาสถามได้ แต่ช่วงนี้ ให้เราปฏิบัติก่อน ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ จนกว่าจะเห็นสมควรแก่เวลา ขอให้ ตั้งใจปฏิบัติกัน
วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พระอาจารย์ : “อัตตาตัวตน” ก็คือความรู้สึกว่าเป็นเรา ลองสังเกต ดูนิดหนึ่งนะ ลองเอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกมาข้างนอก ลองดูนะทบทวน อันนี้คือไล่สภาวะ คือปฏิบัติแล้วพิสูจน์เลยว่า ถ้าให้จิตเราอยู่ข้างนอกปุ๊บ รู้สึกหนักหรือเบา ? ลองดูตอนนี้ ทาเลยนะ พอให้จิตออกมาข้างนอกในที่ ว่าง ๆ ปุ๊บ ? รู้สึกแล้วบอกได้เลยนะ (โยคีกราบเรียนว่า เบา) จิตที่เบาเขา บอกว่าเป็นเราไหม ? ตรงนี้แหละคือ ไม่มีตัวตน ไม่มีอัตตา พอจิตที่ว่าง เบา “กว้าง” ปุ๊บนี่ ความไม่มีตัวตนจะชัด ไม่บอกว่าเป็นเรา แล้วลองดูว่า ถ้า เอาความรู้สึกว่าเป็นเราใส่เข้าไป รู้สึกเป็นอย่างไร ? ตรงนี้คือแยกความต่าง นิดเดียวเอง! เพราะฉะนั้น เวลาดับความรู้สึกว่าเป็นเรา ดับอัตตา ก็เอา ความรู้สึกว่าเป็นเราออกเท่านั้นเอง!
โยคี (๑) : อันนี้คือที่เขาเรียกว่า “การลดสักกายทิฏฐิ” ใช่ไหมครับ ?
พระอาจารย์ : ใช่ พอจิตเราว่าง พอความเป็นตัวตนดับไป อารมณ์ ที่เข้ามาเราจะรับได้มากขึ้น แต่พอมีตัวตนเมื่อไหร่การปฏิเสธอารมณ์จะมาก เพราะฉะนั้น ตรงที่เราปฏิเสธอารมณ์นี่แหละ เขาจึงบอกว่าคนนี้ตัวตนเยอะ ไม่ชอบ แล้วก็เอาความคิดตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่ถ้าเราดับตัวตนปุ๊บ จิตเรากว้าง ลองดูสิ พร้อมที่จะรับรู้ พร้อมที่จะเข้าใจไหม ? เราจะไม่เอาตัวเองเป็นที่


































































































   454   455   456   457   458