Page 458 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 458

434
โยคี (๒) : อีกอย่างหนึ่งค่ะ เวลามีเวทนา พยายามแยกจิตจากเวทนา แล้วพยายามเอาความว่างมาไว้ตรงเวทนา ถูกต้องไหมคะ ?
พระอาจารย์ : ดี ถ้าทาได้ ดี! ทาจิตให้ว่าง แล้วเอาจิตที่ว่างมารู้ เวทนาว่าเขาเกิดดับอย่างไร นั่นแหละที่จะไปต่อ ตัวที่จะทาให้สติเรามีกาลัง มากขึ้น จริง ๆ แล้วเวทนาเป็นของดีนะ! พอเราตามรู้อาการนี้ พอมันเบา ๆ แล้ว เวทนาเกิด แล้วเราไปต่อไม่ได้ ไม่ใช่! เพราะอาการนี้เบาบางลง เวทนา ถึงเกิด เป็นอารมณ์ใหม่ที่ปรากฏขึ้นมา เพราะฉะนั้น เราต้องรู้เวทนาต่อ อันนี้ปล่อยไปเลย เพราะอารมณ์ที่ชัดที่สุดที่เป็นอารมณ์ปัจจุบันที่สุดกาลัง ปรากฏอยู่ เราก็เอาจิตที่ว่างมารู้เวทนา รู้แล้วเขาดับอย่างไร เปลี่ยนอย่างไร รู้ไปเรื่อย ๆ
โยคี (๒) : พอเอาความว่างมาไว้ตรงเวทนา แต่เวทนายังไม่หาย เลย เอาความว่างมาใส่ใหม่...
พระอาจารย์ : ใช่ ทาซ้า ๆ ได้ ไม่ใช่ทีเดียวแล้วจะอยู่ ทีเดียวไม่อยู่ บางทีต้องใส่เข้าไปเป็นระยะ ๆ แต่จุดที่ต้องสังเกต เมื่อเราเอาจิตที่ว่าง เข้าไปครั้งนี้ เขาเปลี่ยนอย่างนี้ เข้าไปอีกก็เปลี่ยนแบบนี้ เข้าไปอีกเขาเปลี่ยน อย่างไร นั่นคือเพราะการกาหนด เหมือนที่เรากาหนดว่า ปวดหนอ ปวด หนอ... กี่คามันถึงจะหยุด ? อันนี้ก็เหมือนกัน เอาความรู้สึกเข้าไปแล้วเขา เปลี่ยนอย่างไร เปลี่ยนอย่างไร... ไม่ใช่แค่เสียงเราอย่างเดียว เข้าใจขึ้นนะ ?
โยคี (๓) : การที่เราเอาความว่างใส่เข้าไปตรงเวทนา กับ การที่เราดู เฉย ๆ มันจะแตกต่างกันแค่ไหนครับ ?
พระอาจารย์ : สังเกตดูได้นะ ความแตกต่างก็คือว่า ถ้าเอาความว่าง เข้าไป ก็คือเป็นการรู้อย่างไม่มีตัวตน แต่ถ้าเรานิ่งอยู่เฉย ๆ เราเป็นเพียง ผู้ดูหรือเราไม่ได้กาหนด อาการเกิดดับของเขาก็จะเป็นไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ไม่ เอาความว่าง แต่เอาจิตตัวนี้เข้าไปในอาการเลย อาการเกิดดับก็จะชัด ตรง


































































































   456   457   458   459   460