Page 462 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 462

438
รูป อาการของกาย เพราะฉะนั้น การดูกายในกาย ดูทาไม ? ดูเพื่ออะไร ? ดูตรงไหน ? ตรงนี้คือจุดสาคัญนะ
เราดูกายเพื่อที่จะรู้อะไร ? ดูรูปนามเพื่อรู้อะไร ? พระพุทธเจ้าบอกว่า รูปนามตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป... เรารู้แล้ว เหลือแต่ “เห็น” ใช่ไหม ? เรารู้ รูปนามนี้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่ว่าไม่เคยเห็น เพราะไม่เคยเห็นนี่ แหละจึงทาให้เราติด เพราะฉะนั้น การกาหนดดูกาย เวทนา จิต ธรรม จึง ต้องมี “เจตนา” ที่จะรู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร มีความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จริง ๆ แล้ว อนิจจลักขณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักขณะ ลักษณะ ของความไม่เที่ยง คือเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ ลมหายใจ พองยุบขึ้นมา เดี๋ยว เปลี่ยน เดี๋ยวเปลี่ยนอย่างนั้น เดี๋ยวเปลี่ยนอย่างนี้ นั่นคือลักษณะของความ เป็นอนิจจัง ทุกขลักษณะคือตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดแล้วต้องดับไป ไม่ใช่ทุกข์ทรมานนะ ไม่ใช่ทุกขเวทนาแต่เป็นทุกขลักษณะ ทุกขเวทนานี่ไม่ สบาย มีความปวด ปวดกาย ปวดใจ แต่ทุกขลักษณะ อาการที่เกิดทั้งทาง กายและทางใจ เกิดแล้วตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดแล้วดับ ค่อย ๆ เกิด ขึ้นมาแล้วก็ดับ หรือเกิดดับแบบเร็ว ๆ วุบวับ วุบวับ วุบวับ... นั่นแหละ เขาแสดงทุกขลักษณะ
เพราะฉะนั้น การเห็นตรงนี้ เราจะได้เห็นจริง ๆ เพราะเห็นแบบนี้ เมื่อไหร่จิตเราจะคลายจากอุปาทาน แต่ไม่ใช่เห็นแค่นี้แล้วพอ ยังมีสภาวะ ที่ละเอียดมากกว่านี้ ถ้าเราเห็นอย่างนี้ สมมติว่าเราเห็นว่าเขาเกิดดับแบบนี้ เห็นแล้วว่าเกิดแล้วต้องดับ แต่ถ้ารู้ข้างในเข้าไปอีก เขาจะมีอะไรที่ต่างจากนี้ อีกไหม ? ตรงนี้แหละเขาเรียก “ธัมมวิจยะ” การสอดส่องธรรม พิจารณา รายละเอียดของเขามากขึ้น และยิ่งเราเห็นรายละเอียดมากขึ้น เราจะเข้าใจ ในธรรมชาติของรูปนามมากขึ้น และจิตที่เคยเข้าไปยึดในสิ่งที่ละเอียด เขา ก็จะคลายต่อไป


































































































   460   461   462   463   464