Page 463 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 463

439
แล้วแม้แต่ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้เอง ถ้าเราไม่สังเกต เราจะไม่เห็นว่าเขา ดับหรือเปล่า ก็จะมีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้ตามรู้ตลอดเวลา และตัวรู้นี้ไม่ เคยดับ เพราะไม่เคยเห็นว่าเขาดับไป มีแต่รู้นิ่ง ๆ อยู่ ถ้าเราไม่เห็นอาการ ดับของจิต เราก็จะเห็นว่าจิตนี้มันเที่ยง จิตดวงเดียวรับรู้ตลอดเวลา แต่ พระพุทธเจ้าบอก “จิตก็ไม่เที่ยง” เพราะฉะนั้น จึงต้องสังเกตจิตที่ทาหน้าที่ รู้ด้วยว่า เวลาอาการนั้นดับ จิตที่รู้ดับไปด้วยหรือเปล่า ? แล้วสงสัยว่าถ้า ดับแล้ว อะไรทาหน้าที่รู้ต่อ ? ก็จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นมารู้ใหม่ จิตเราเกิด ดับต่อเนื่องกันเป็นอนันตรปัจจัย คือมีดับแล้วเกิดต่อเนื่อง เกิดดับ เกิด ดับ... เพียงแต่ว่าความละเอียดของสติของจิตเราไม่พอแค่นั้นเอง แต่สาหรับ นักปฏิบัติต้องใส่ใจ ต้องสังเกต
ไม่งั้นที่บอกว่าไม่ยึดอะไรทั้งหมดเลย รูปก็ไม่ยึด ทรัพย์สมบัติไม่ยึด ยึดอยู่ตัวเดียวคือเรา คือจิตดวงนี้! เราไม่เอาอะไรหมดเลย เพื่อนฝูงไม่เอา ญาติไม่เอา ทรัพย์ไม่เอา แต่เอาตัวนี้ คือเอาเราอย่างเดียว เคยได้ยินไหม พระฑีฆนขะ ? เขาเป็นพราหมณ์ เป็นคนเก่ง ไปพูดกับพระพุทธเจ้า เรา ไม่เอาอะไรทั้งสิ้น แล้วก็หัวเราะคนอื่นหึ ๆ ๆ เราไม่เอาอะไร... แต่มีตัวตน เต็มที่! แม้แต่จิตดวงนี้ ก็ไม่ใช่ของเรา! แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ เขาก็เกิดดับ นั่นเป็นสิ่งที่โยคีหรือนักปฏิบัติทุกคนจะต้องสังเกต ต้องกาหนดรู้
ที่บอกว่าทุกขลักษณะ อนัตตลักขณะ เกิดขึ้นแล้วนี่เราไปเปลี่ยน แปลงเขาไม่ได้ บังคับเขาไม่ได้ ลักษณะของเขา “บังคับบัญชาเขาไม่ได้” เกิดแล้วต้องดับ ให้ตั้งอยู่อย่างนั้นก็ไม่ได้ ให้เกิดอยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ก็ไม่ ได้อีก เขาก็เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของเขา นั่นคืออนัตตลักขณะ และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลักษณะที่เรียกว่าอนัตตา “ไม่ใช่ตัวเรา” การสังเกต อย่างนี้ ไม่มีเรา มีแต่สติทาหน้าที่รู้ พอกาหนดรู้อย่างนี้กิเลสจะไม่เกิด เพราะ ฉะนั้น ทุกครั้งที่เราเห็นอาการเกิดดับ จิตเราจะเป็นกลาง เป็นอพยากตธรรม หรือเป็นเอกัคคตาในตัว ชั่วขณะหนึ่ง ๆ อันนั้นไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อไหร่มี


































































































   461   462   463   464   465