Page 464 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 464

440
การปรุงแต่ง กิเลสก็จะเกิดขึ้นมา แต่ถ้าไม่มีการปรุงแต่ง ก็จะเป็นไปตาม สภาพของเขาตามความเป็นจริง
และอีกอย่างหนึ่ง การไม่ปรุงแต่งไม่ใช่ว่ามีความสุขไม่ได้นะ ความ สุขที่เกิดจากสภาวธรรมเอง อย่างมีปิติเกิดขึ้นเพราะจิตเราว่าง ถามว่า เป็น ความสุขไหม ? สุข ถามว่า สุขนั้นผิดไหม ? ไม่ผิดหรอก สุขได้ เพราะ ฉะนั้น ลักษณะที่บอกว่า วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ลักษณะของฌาน จริง ๆ ลักษณะของสมาธิของจิตเราก็ต้องเกิดโดยธรรมชาติ ถามว่า สุขแล้ว ผิดไหม ? ไม่ผิด ไม่มีตัวตนแล้วสุขได้ไหม ? สุขได้! เดี๋ยวให้พิสูจน์ดู...
ลองดูว่า ถ้าไม่มีเราแล้วสุขได้ไหม ? อาจารย์ว่าน่าจะสุขมากกว่านะ เวลามีเราแล้วทุกข์มากกว่าสุข พอไม่มีเราจิตเราจะอิสระ พออิสระรู้สึก สบาย ความสบายก็คือความสุข แต่จะสุขแบบอิ่มใจ อ่อนโยน นิ่มนวล หนา แน่น หรือสุขแค่บาง ๆ เบา ๆ อันนั้นอีกอย่างหนึ่ง แล้วแต่คน แล้วแต่ขณะ เพราะฉะนั้น การปฏิบัติของเรา การเจริญวิปัสสนา หลักสาคัญต้องมี “เจตนา” ที่จะรู้อาการเกิดดับของทุก ๆ อารมณ์ให้มาก ถ้าย่อลงมาก็คือของรูปนามขันธ์ ๕ นั่นแหละ เป็นความคิด เป็นเวทนา... กาย เวทนา จิต ธรรม...
ทีนี้ พอเราพิจารณาอย่างนี้ ก็อาจจะมีสภาวะบางอย่างที่พิสดารเกิด ขึ้น แล้วเราไม่เข้าใจหรือไม่แน่ใจ อย่างที่เล่ามาเมื่อกี้ บางคนตั้งคาถามว่า มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น แล้วอาการแปลก ๆ ตรงนั้นเป็นอาการอะไร ? ก็อาการของรูปนามนั่นเอง มีสติรู้ชัดแล้วเขาก็เปลี่ยนไป รู้ชัดแล้วเขาดับไป มีนิมิตเกิดขึ้นมา รู้แล้วเขาดับอย่างไร แค่นั้นเอง! ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น พอเรารู้อย่างนี้ จิตเราจะไม่เข้าไปยึดมั่น หรือไม่หลงในอารมณ์เหล่านั้น เมื่อ ไม่หลงยึดติดในอารมณ์เหล่านั้น การปฏิบัติก็จะเดินหน้าไปเรื่อย ๆ
โดยพื้นฐานนี่แต่ละคนสมาธิดี ที่นั่งอยู่นี้โดยส่วนใหญ่แล้ว ถามว่า สมาธิดีไหม ? ดี แต่บางคนไม่กล้าเล่าสภาวะ เพราะไม่เหมือนคนอื่น ไม่ เหมือนเพื่อน ถามว่า เขาเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นไหม ? เห็น บางคนไม่เข้าใจ


































































































   462   463   464   465   466