Page 473 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 473

449
ที่เกิดกับกาย เวทนาที่เราเรียกกันก็คือ อาการของความเจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน อันนี้เราเรียกว่า “เวทนาทางกาย” สุข ทุกข์ อุเบกขา โสมนัส เรียกว่า “เวทนาทางใจ” แต่ตามสภาวะแล้วเวลาเราพูดถึงเวทนา เราต้อง “แยกชัด”
เวลาเราเล่าสภาวะ พูดถึงเวทนา ถ้าปวดบอกว่าปวด คันเรียกว่าคัน ไม่ต้องมาเรียกว่า มีเวทนาเกิดขึ้น แล้วก็รวม ๆ ให้แยกชัดไปเลยว่าเวทนา ที่ปรากฏขึ้นมาขณะนี้คือความปวด มีอาการคัน อาการชา จะได้รู้ชัด เมื่อมี สติเข้าไปกาหนดรู้ อาการปวดหรืออาการชาที่ปรากฏขึ้นมานั้นมีการเปลี่ยน แปลงหรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร เพราะเวทนาเหล่านี้เขาก็แยกกันเกิด คนละขณะ คนละขณะ เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ชัดในลักษณะอย่างนี้ จิตจะ ตั้งมั่น สติจะมีความตื่นตัวหรือชัดเจน ถ้าใช้รวม ๆ เรียกว่าเวทนาอย่าง เดียว ความชัดเจนในอารมณ์จะน้อยกว่า
ถ้าเวทนาทางใจที่เกิดขึ้น มีความรู้สึกอึดอัดเกิดขึ้น มีความไม่ สบายใจ มีความหนักเกิดขึ้น หรือมีความรู้สึกนิ่มนวล อ่อนโยน มีความสุข เกิดข้ึน จะได้รู้ชัดว่า เมื่อมีความสุขเกิดขึ้น เข้าไปดูใจที่สุขแล้ว รู้สึกอย่างไร ? ยิ่งดูยิ่งรู้สึกสุขมากขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไป ความสุขนั้นจางไป หรือความ สุขนั้นกว้างขึ้น กว้างขึ้น ? เข้าไปดูจิตที่สุข ความรู้สึกสุขก็คือจิตที่สุข ความ รู้สึกใสคือจิตที่ใส ความรู้สึกสงบก็คือจิตที่สงบ ความรู้สึกอึดอัดก็คือจิต ที่เป็นทุกข์ ทุกขเวทนาสุขเวทนาเกิดขึ้นมา
ถ้าเราเรียกว่าเป็นความอึดอัด ใช้คาว่ามีความทุกข์ มีอารมณ์เข้า มากระทบแล้วรู้สึกมีความทุกข์เกิดขึ้น หรือเมื่อมีอารมณ์เข้ามากระทบแล้ว รู้สึกอึดอัด ขุ่น ๆ เกิดขึ้น ตรงนี้เราเล่าถึงสภาวะ แต่เมื่อมีสติเข้าไปกาหนดรู้ อาการขุ่นนั้นดับอย่างไร ? อาการอึดอัดหายไปอย่างไร ? นี่คือเห็นอาการ ดับของอารมณ์ แต่ถ้าเห็นอาการเกิดของเวทนาทางใจด้วยว่ากระทบแล้วมัน ค่อย ๆ ขุ่นขึ้นมา หรือวูบขึ้นมาเลยก็ตาม แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อมีสติ เข้าไปกาหนดรู้ ความรู้สึกขุ่นมัวหรือความอึดอัดนั้นดับในลักษณะอย่างไร ?


































































































   471   472   473   474   475